11 กันยายน 2553

ข้อควรปฏิบัติในการอยู่ร่วมกับคนหูหนวก

ข้อควรปฏิบัติในการอยู่ร่วมกับคนหูหนวก

เมื่อคนหูหนวกอยู่ในวงสนทนา ควรแสดงท่าภาษามือขณะที่พูดไปด้วย (อย่างน้อย พยายามสื่อเรื่องได้ก็ยังดี ไม่ว่าจะโดยการเขียน หรือแสดงภาษามือ) เพื่อให้คนหูหนวกในวงสนทนาได้รู้และเข้าใจเรื่องที่กำลังคุยกัน ในบางทีคนหูหนวกก็อยากเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

เมื่อคนทั่วไปอิสระ คนพิการก็มีสิทธิ์อิสระได้เช่นกัน

เมื่อพูดถึงความปลอดอุปสรรค (Barrier Free) นั่นหมายถึงว่าเมื่อคนทั่วไปเดินทางไปไหนมาไหนได้ คนนั่งเก้าอี้ล้อก็สามารถเดินทางไปไหนได้เช่นเดียวกัน (คนนั่งเก้าอี้ล้อ หมายรวมถึงคนพิการ, คนสูงอายุด้วย) ในปัจจุบันจึงพยายามจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทางลาด ลิฟท์ เพื่อให้คนเก้าอี้ล้อเข้าถึงได้

คนทั่วไปดูโทรทัศน์ได้ รับรู้ข่าวสารได้ คนหูหนวกต้องรับรู้ข่าวสารได้ด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากคนหูหนวกเป็นชนกลุ่มเล็กกลุ่มซึ่งยังไม่มีสื่อที่เหมาะสม ก็ยังมีบางรายการในโทรทัศน์ ที่จัดล่ามภาษามือ และตัวหนังสือบรรยายใต้ภาพ ก็ยังดี และมีส่วนน้อย

จึงได้พูดถึงเรื่องด้านอื่นๆที่น่าจะสามารถปลอดอุปสรรคสำหรับคนหูหนวกได้ ก็คือ การสนทนากลุ่ม ซึ่งเคยมีตัวอย่างให้เห็นในประเทศอื่นๆ เช่น อเมริกา เขาได้มีการตั้งกฎว่า ใครที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยของคนหูหนวก (กาลาเดท) ต้องสื่อภาษามือด้วย โดยเฉพาะคนทั่วไปที่มีการได้ยิน (คนหูดี) เพื่อที่คนหูหนวกได้รับรู้ เห็นเรื่องที่เขากำลังคุยกัน ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ หรือไกล เช่นเดียวกับคนทั่วไปที่ส่งเสียงคุย คนอื่นก็สามารถได้ยินเช่นเดียวกัน

Hunuak