26 มิถุนายน 2555

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกจัดโครงการ ‘หนูอยากได้ยินเสียงแม่’ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี


คนเรานั้น “เลือกเกิด” ไม่ได้ บ้างก็เกิดมาครบสมบูรณ์สามสิบสอง และบ้างก็เกิดมาร่างพิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ด้วยเหตุนี้นี่เอง “มูลนิธิ” ต่างๆจึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทั้งหลายและมูลนิธิต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น มี “มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมป์” รวมอยู่ด้วย
จากวันนั้นถึงวันนี้ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ เดินทางมาครบ ๖๐ ปีแล้ว และเนื่องในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปีแห่งการก่อตั้งนี้เอง ทางมูลนิธิฯได้จัดโครงการ “หนูอยากได้ยินเสียงแม่” ช่วยผู้บกพร่องทางการได้ยินขึ้นโดย “ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง” ประธานฝ่ายวิชการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมป์ เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี แห่งการก่อตั้งมูลนิธิ อนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดโครงการ “หนูอยากได้ยินเสียงแม่” ขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการได้ยิน โดยเฉพาะเด็กวัย ๐-๗ ปี ให้เข้าถึงอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รับโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกับเด็กทั่วไป มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยมีการมอบอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน คือ เครื่องช่วยฟัง หรือประสานหูเทียม ด้วยการสมัครร่วมโครงการ “หนูอยากได้ฟังเสียงแม่” เพื่อขอรับการพิจารณาความเหมาะสม
ภายในงานยังมีการร่วมเสวนากับ ร.ศ.ดร ปริญญา หลวงพิทักษ์ชุมพล นักแก้ไขการได้ยิน คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ร่วมแสวนาในหัวข้อ อุปกรณ์และเทคโนโลยีช่วยการได้ยิน อาจารย์ประหยัด ทรงคำ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต ๘ เชียงใหม่ ร่วมแสวนาในหัวข้อ สิทธิ์ทางการศึกษา การเข้าถึงบริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ดร.สุจิตรพร เลอศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเสวนในหัวข้อ การให้บริการระยะเชื่อมต่อจากระบบการให้บริการ ช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสู่ระบบโรงเรียน อาจารย์พิมลพร จันทร์สมดี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร ร่วมเสวนาในหัวข้อ ทางเลือกทางการศึกษาสำหรับเด็กหูหนวก โดยมี ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง ประธานฝ่ายวิชาการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
งานนี้จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๓๐ น. ณห้องแกรนด์บอลรูมโรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ ๒๐๐๐ ผู้ที่สนใจและคนบันเทิงทั้งหลาย ว่างๆก็แวะมาร่วมงานกันได้ เพื่อเป็นความรู้และช่วยเหลือเด็กพิการผู้ด้อยโอกาส(เชียงใหม่นิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๔ มิ.ย.๒๕๕๕) 30,160

25 มิถุนายน 2555

เด็กดี...นักเรียนหูหนวก รร.โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ยามเย็นนอกจากเดินเล่น ยังทำความดีอีกด้วย


นักเรียนหูหนวก รร.โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนอยู่ประจำ นักเรียนหูหนวกจากจังหวัดบุรีรัมย์/ศรีสะเกษ/อุบลราชธานี/นครราชสีมาและ สุรินทร์ เข้าเรียน อยู่ประจำ เปิดสอนอนุบาล-ม.๖...
ยามเย็นหลักเลิกเรียน เป็นการพักผ่อน หน้าโรงเรียนมีมินิมาร์ท มีการก่อสร้าง เด็ก ๆ ก็จะเดินเล่น..เด็กหนุ่มน้อย ๒ คน นอกจากเดินเล่น ยังได้แสดงออกด้านจิตอาสารักความสะอาด...โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลอยู่ ข้างเคียง จะมีศาลาที่พักคนโดยสาร..คงไม่ต่างกัน คนไทยคงเป็นส่วนน้อย มักง่าย กินขนม ดื่มน้ำที่ไหน สิ่งที่หอ/แก้วพลาสติก จะทิ้งเรี่ยราด... แต่เด็กหนุ่มทั้งสอง แม้จะหูหนวก ไม่รับรู้ทางโสตประสาท..รับรู้ด้วยสายตา นอกจากเดินเล่น ได้เก็บขยะ ด้านหน้าโรงเรียน รอบ ๆ ศาลาที่พักคนโดยสาร และเป็นรอรถกลับบ้านของโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล ทีรั้วติดกัน...ดูแล้วรู้สึกอย่างไรครับ ?
ฝากทุก ๆ ท่านดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลความสะอาด ช่วยกันนะครับ...น้อง ๆ นักเรียนทุกคนต้องดูนักเรียนพิการ(หูหนวก) เป็นตัวอย่างนะครับ(esanclick.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๔ มิ.ย.๒๕๕๕)30,140

24 มิถุนายน 2555

สหราชอาณาจักร..เครื่องช่วยฟังซ่อนรูปสำหรับคนหูหนวก


หญิงหูหนวกชาวอังกฤษสามารถได้ยินเสียงเหมือนคนทั่วไป หลังจากเข้ารับการผ่าตัดใส่เครื่องช่วยฟังแบบซ่อนรูปเป็นรายแรกของอังกฤษ
เด นิส เวสต์เกต วัย ๔๖ ปี สูญเสียการได้ยินเมื่ออายุ ๖ ขวบจากการติดเชื้อ แต่ตอนนี้เธอกลับมาได้ยินเสียงเหมือนคนปกติทั่วไปอีกครั้ง หลังจากผ่าตัดใส่เครื่องช่วยฟังแบบใหม่ล่าสุด โดยเครื่องนี้เป็นผลงานของศูนย์ค็อคเลียร์อิมแพลนต์ที่มหาวิทยาลัยเซ้าท์แทมพ์ตั้น
อุปกรณ์ ใหม่นี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องกังวลปัญหาเปียกน้ำ หรือการตกหล่นเสียหาย ที่สำคัญคือ ตัวเครื่องฝังอยู่ภายในหูชั้นกลางอย่างแนบเนียน ทำให้มองไม่เห็นว่าใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้และทำให้สามารถได้ยินเสียงตลอดเวลาแม้แต่ขณะที่กำลังอาบน้ำหรือว่ายน้ำ
เครื่องช่วยฟังนี้ใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จใหม่ได้ ซึ่งต้องชาร์จทุกวัน วันละ ๔๕ นาที โดยใช้เครื่องชาร์จไฟเคลื่อนที่ซึ่งสะดวก สามารถชาร์จที่ไหนก็ได้ อย่างไรก็ตามจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกๆ ๑๐-๑๕ ปี ทำให้ต้องผ่าตัดเปลี่ยนใหม่ สำหรับราคาเครื่องอยู่ที่ ๑๖,๐๐๐ ปอนด์ หรือประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท ( krobkruakao ๓ ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๒ มิ.ย.๒๕๕๕)
30,118

21 มิถุนายน 2555

เชิญชมหนังสั้นฟรี.... 'เทศกาลภาพยนตร์คนหูหนวกและคนตาบอด'



       กลุ่มธรรมดีทำดี
 ร่วมกับ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ(สสพ.) เชิญชวนเข้าร่วมงาน “เทศกาลภาพยนตร์คนหูหนวกและคนตาบอด” โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในวันที่ ๒๓-๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๓๐น.เป็นต้นไป ณ ห้องออดิทอเรี่ยม ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ทีซีดีซี) ชั้น ๖ ดิ เอ็มโพเรี่ยม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ เพื่อร่วมสัมผัสโลกแห่งจินตนาการ และอรรถรสแห่งความสนุก โดยไม่กักขังอยู่ในกรอบเดิมๆ ของสังคม
ทั้งนี้ วันเสาร์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ จะได้พบกับหนังสั้นคนหูหนวก ช่วง “ไม่ได้ยิน...แต่ไม่ได้ปิดกั้นจินตนาการ” ในหนังสั้น ๗ รสชาติแห่งความสนุกของโลกความเงียบ ได้แก่ เรื่อง “ห้องน้ำอยู่ตาย” เป็นห้องน้ำในหอพักกับเรื่องราวที่ชวนสยอง “ฉันหึงนะ” ใครที่เจอเรื่องแบบนี้ก็ต้องหึงกันทุกราย “๓ ดวงใจ” จะดีจะร้าย ครอบครัวก็คือผู้สร้างชีวิต “with I love” เพื่อนสนิท มิตรภาพ กับนิยามของคำว่าความรัก “สักวัน” เพื่อนกับคนรัก ความเชื่อใจกับความไว้ใจ “ความฝันของโลกไร้เสียง” ความฝันของคนหูดีในโลกของคนหูหนวก และเรื่อง“โลกเงียบสีชมพู” แค่เปลี่ยนรูปแบบของการสื่อสารโลกก็กลายเป็นสีชมพู
นอกจากนี้ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ จะได้พบกับหนังสั้นคนตาบอด : เห็นได้ด้วยแรงบันดาลใจ ในช่วงของ “มองไม่เห็น...แต่ไม่ได้ปิดกั้นจินตนาการ” จาก ๔ เรื่องราว ได้แก่ เรื่อง “มืด” เรื่องราวของชายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต สูญเสียการงานและผู้คนรอบข้าง แต่มีคลื่นวิทยุเป็นกำลังใจ “อยากให้รักและเข้าใจ” เป็นเรื่องเด็กตาบอดที่ถูกพ่อขังไว้ในบ้าน เพราะกลัวว่าจะมีปัญหาเมื่อออกไปข้างนอก “เหมือนหรือแตกต่าง” (Synonym) เป็นเรื่องการใช้ชีวิตที่เหมือนกับคนทั่วๆ ของป้อม อุ้ม โต และต้อง ที่แตกต่างกันเพียงการมองเห็น และเรื่อง “Way” ซึ่งกว่าจะเดินทางมาถึงจุดนัดพบ เดียร์กับมหาต้องเจอกับอะไรบ้างในระหว่างทาง
สนใจหนังสือสั้นเรื่องใดสามารถ สอบถามเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งที่ ๐๘๑ ๖๘๙-๐๐๗๔ หรือ อีเมล์ dharmdeethamdee@gmail.com (สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๐ มิ.ย.๒๕๕๕)
30,039