29 พฤษภาคม 2553

ฟุตบอลโลกในโลกเงียบ เล่าด้วยภาษามือผ่านหนังสือทำมือ


วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7119 ข่าวสดรายวัน

นับถอยหลังอีกไม่กี่วัน บรรดาคอบอลทั้งหลาย คงจะได้รับชมฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันที่ 11 มิ.ย.นี้

ทำให้ช่วงนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนล้วนแต่เต็มไปด้วยกระแสของฟุตบอลโลก

ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กพิการทางหูของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ได้จัดทำหนังสือทำมือ โดยใช้ชื่อว่า "สนุกกับฟุตบอลโลก ปี 2010" ซึ่งหนังสือทำมือเล่มนี้มีรูปเล่มขนาดพอดี

ภายในเล่มนั้นจะประกอบไปด้วยรูปภาพของธงชาติของทีม พร้อมภาษามือรายชื่อของทั้ง 32 ประเทศ ที่ผ่านเข้ามาเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย



ฟุตบอลในโลกเงียบ

น.ส.นงค์นภา ปอศิริชัย หัวหน้านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในฐานะผู้วาดภาพหนังสือสนุกกับฟุตบอลโลกปี 2010 เล่าผ่านการเขียน ว่า โดยส่วนตัวแล้วมีความสนใจเรื่องกีฬา โดยเฉพาะประเภทฟุตบอลโลก ซึ่งได้ติดตามข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ และในปีนี้ตนเองอยากรู้ว่าทีมใดจะคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก

ทั้งนี้ นอกจากจะมีความสนใจกีฬาประเภทฟุตบอลแล้ว ยังสนใจธงชาติของแต่ละประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม บรรยากาศภายในห้องเรียนยังติดโปสเตอร์ธงชาติในฟุตบอลโลกอีกด้วย

น.ส.ชุนานาถ บำรุงยุติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 บอกว่า ขอบคุณคุณครูทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอนนักเรียนหูหนวกให้มีความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งรุ่นพี่ที่ช่วยสอนวาดภาพ ทั้งนี้ หนังสือสนุกกับฟุตบอลโลกเล่มนี้ถือว่าเป็นหนังสือที่อ่านสนุก เข้าใจง่าย แถมยังมีพื้นที่ให้ระบายสีรูปธงชาติ การทำหนังสือเล่มนี้นอกจากจะทำให้นักเรียนคนพิการเรียนรู้เกี่ยวกับฟุตบอลโลกแล้วยังทำให้รู้ถึงกระบวนการทำหนังสือ ซึ่งสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในภายหน้า ขณะที่ตัวผู้ซื้อหนังสือเองจะได้ความรู้เกี่ยวกับภาษามือด้วย
1.ครูญาดา

2.น.ส.นงค์นภา ปอศิริชัย

3.น.ส.ชุนานาถ บำรุงยุติ




เมื่อถึงช่วงกระแสฟุตบอลโลกแน่นอนว่าประชาชนคนทั่วไปย่อมพูดคุยเกี่ยวกับการแข่งขันที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น แข่งวันไหน คู่ไหนแข่งกัน ใครเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งคนหูหนวกไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นสัญลักษณ์ต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ จึงเปรียบเสมือนสื่อกลางในการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการกับคนธรรมดาทั่วไป เพราะอย่างน้อยเป็นการลดช่องว่างทางสังคมระหว่างเด็กพิการกับคนธรรมดาทั่วไป เพื่อทำให้สังคมเกิดความเท่าเทียม



เรียนรู้ผ่านกิจกรรม

น.ส.ญาดา ชินะโชติ หรือครูญาดา ในฐานะเจ้าของโครงการ เปิดเผยถึงที่มาของการทำหนังสือ ว่า เดิมทีเมื่อปีพ.ศ.2526 ตนเริ่มเก็บสะสมรวบรวมผลงานของนักเรียน เช่น รักนี้คือการให้แบบเรียนภาษามือและการสะกดนิ้วมือ แบบสะกดนิ้วมือคำศัพท์ A-Z สนุกกับฟุตบอลโลกปี 2006 หนังสือเมื่อมีฉันก็ต้องมีเธอ ภาษามือจากเลข 1 เป็นต้น เพราะฉะนั้นหนังสือที่ออกมาทุกเล่ม ผู้พิการหรือประชาชนที่สนใจจะได้รับความรู้และรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ภาษามือ ในการสื่อสาร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ต่อมาจึงนำผลงานจัดทำเป็นหนังสือทำมือออกขายในงานกาชาดทุกปี

ครูญาดา กล่าวถึงการจัดทำหนังสือสนุกกับฟุตบอลโลก ปี 2010 ว่า สืบเนื่องมาจากช่วงปิดภาคเรียน ตนได้มอบหมายให้นักเรียนอ่านข่าวและเลือกข่าวที่มีประโยชน์มาทำเป็นรายงานมาส่งหนึ่งเรื่อง ซึ่งนักเรียนชั้นม.6 ได้คัดเลือกนำเสนอข่าวฟุตบอลโลกปี 2010 โดยได้จัดทำเป็นหนังสือที่มีรูปแบบสัญลักษณ์ภาษามือ แนะนำธงชาติของทีมทั้งหมดที่ผ่านเข้ามาเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ทั้งหมด 32 ประเทศ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือนั้นประกอบด้วย การฝึกสะกดนิ้วมือด้วยอักษร A-Z รวมไปถึงการใช้สัญลักษณ์ภาษามือเรียกชื่อแต่ละประเทศด้วย นอกจากนี้ ยังมีการเว้นที่นักเรียนหรือผู้ที่สนใจ สามารถระบายสีธงชาติได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การวางจำหน่ายหนังสือในงานกาชาด ประจำปี 2553 ครั้งนี้ นักเรียนสามารถจำหน่ายหนังสือได้ถึง 200 เล่ม





หนังสือทำมือจากเด็กหูหนวก

สำหรับขั้นตอนการทำหนังสือนั้น ในขั้นตอนแรก ตนต้องมาคิดว่าจะทำหนังสือเกี่ยวกับประเภทอะไร และออกแบบรูปเล่มอย่างไร จากนั้นเริ่มจัดหาทีมงาน เพื่อวาดภาพสัญลักษณ์ภาษามือ โดยนักเรียนเกือบทุกระดับชั้น เข้ามาช่วยหาภาพสัญลักษณ์ภาษามือ จากหนังสือรุ่นเก่า ขณะที่นักเรียนชั้น ม.6 ได้เข้ามาช่วยเรื่องการวาดภาพ ขณะเดียวกันรุ่นพี่จะช่วยสอนรุ่นน้องวาดภาพด้วย เมื่อวาดภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตนจะตรวจความเรียบร้อยอีกครั้ง ก่อนนำภาพวาดทั้งหมดมารวบรวมเป็นรูปเล่ม เพื่อนำส่งโรงพิมพ์และถ่ายเอกสารเก็บไว้อีกหนึ่งชุด เมื่อโรงพิมพ์พิมพ์หนังสือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตนพร้อมนักเรียนจะช่วยกันไปวางจำหน่ายภายในงานกาชาด ซึ่งกำไรทั้งหมดเมื่อหักลบต้นทุนแล้ว กำไรที่เหลือจะนำไปบริจาคเข้าสภากาชาดไทย เพื่อช่วยเหลือเด็กพิการต่อไป

"นักเรียนมีความตั้งใจทำหนังสือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาพวาดต่างๆ นักเรียนจะเป็นคนวาดเองทั้งหมด รวมทั้งการวาดสัญลักษณ์ภาษามือ ซึ่งดิฉันทำหน้าที่เพียงแค่แนะนำเท่านั้น กว่าจะได้เป็นหนังสือสนุกกับฟุตบอลโลก ปี 2010 นั้น ต้องใช้เวลาเตรียมการ 1 ปี เต็มๆ โดยศึกษาหาข้อมูลจากข่าว ดูชื่อประเทศ รวมทั้งคิดค้นสัญลักษณ์ภาษามือแบบใหม่ ซึ่งในระหว่าง 1 ปี ได้ลองผิดลองถูกมาหลายครั้งหลายหน เมื่อได้ออกมาเป็นรูปเล่มอย่างที่เห็นแล้ว ก็จะนำออกไปวางจำหน่ายในงานกาชาด โดยให้นักเรียนรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ด้านการขาย มาช่วยสอนแนะนำและเทคนิควิธีการขายให้กับนักเรียนรุ่นน้อง ซึ่งรายได้จากการขายในครั้งนี้ ได้หักลบต้นทุนไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนกำไรที่เหลือได้บริจาคเข้าสภากาชาดไทย เพื่อช่วยเหลือเด็กพิการต่อไป" ครูญาดา กล่าว

ครูญาดา กล่าวอีกว่า ผลที่นักเรียนจะได้รับจากการทำหนังสือเป็นอันดับแรก คือความสามัคคี เนื่องจากการทำหนังสือนั้น รุ่นพี่จะช่วยสอนเทคนิคการวาดภาพและเทคนิคการขายให้กับรุ่นน้อง เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีปัญหาเรื่องการขาย เพราะนักเรียนรุ่นน้อง ไม่กล้าเข้าหาคนทั่วไป เนื่องจากกลัวและไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับคนปกติได้ ดังนั้นจึงต้องให้รุ่นพี่ คอยแนะนำและเทคนิคต่างๆ ให้กับรุ่นน้อง ซึ่งเมื่อรุ่นพี่จบออกไปแล้วรุ่นน้องก็สามารถสานต่อได้ ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากนั้นจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีความกล้าแสดงออก เป็นต้น นักเรียนทุกคนจะมีสามัคคี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ซื้อหนังสือส่วนใหญ่จะซื้อหนังสือเพราะอยากจะทำบุญ อยากช่วยเหลือ แต่เมื่อลองอ่านดูแล้วจะพบว่าแท้ที่จริงแล้ว ภาษามือไม่ได้ยากอย่างที่คิด ที่ผ่านมามีคนจำนวนไม่น้อยที่อ่านหนังสือแล้วรู้สึกชอบ จนต้องติดต่อตน เพื่อขอเรียนภาษามือ

ทุกชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นได้ เพียงแค่สังคมเปิดโอกาสและให้การสนับสนุน

หน้า 21

How to be deaf

21 พฤษภาคม 2553

ถามคำศัพท์

บุญเชียบแสดงสะกดนิ้วมือ ส, ไม้เอก, สระอา, ย แล้วก็ถามบุญหนวก แปลว่าอะไร

บุญหนวกบอกว่า ไม่รู้ (พร้อมกับส่ายหัว)

บุญเชียบก็บอกว่าใช่นั่นแหละ นั่นแหละ คำตอบ

บุญหนวกก็งง (!!) บุญหนวกก็ตอบ ไม่รู้ เช่นเดิม

บุญเชียบก็ตอบว่าใช่ๆ นั่นแหละ คำตอบ

บุญหนวกก็ไม่เข้าใจต่อไปอย่างงั้นแหละ

เหล้าเพลิน

บุญหนวกกับบุญเชียบ

สองหนุ่มหูหนวกนั่งคุยกันด้วยภาษามือ

บุญหนวกเริ่มระบายความในใจให้เพื่อนฟัง

บุญหนวก : เมื่อคืน ผมกินเหล้ากับเพื่อนเพลิน ถึงตี1 จนลืมเวลา ต้องรีบกลับบ้าน เพราะเมียรออยู่ที่บ้าน

. . . . . . . (เงียบ)

บุญเชียบ: แล้วเมียว่าไง

บุญหนวก: ก็เจอเมียงอนไฟแลบเลย น่าเบื่อที่สุด

บุญเชียบ: โธ่เอ๊ย! ของกล้วยๆ

บุญหนวก: กล้วย ยังไงล่ะ

บุญเชียบ: คุณดับไฟเสียก็สิ้นเรื่อง การสนทนาก็จะจบไปเอง

ฮา

เขียนตามครู

บุญเชียบ: อ้าวเด็กๆ เขียนคำตามสะกดนิ้วมือของครูพี่เลี้ยงนะ

เด็กๆหูหนวก พร้อมหน้าพร้อมตา พร้อมสมุดดินสอตรงหน้าแล้ว

บุญเชียบ ชูมือสะกดคำว่า “ค.”

เด็กๆ ก็ก้มหน้าลงมือเขียนอย่างตั้งใจด้วยความรู้ความสามารถเคยเรียนมา

บุญเชียบ ชูมือสะกดคำว่า “ว.”

เด็กๆ ก็ก้มหน้าลงมือเขียนอย่างรวดเร็ว หวังจะเขียนเสร็จก่อนเพื่อน

บุญเชียบ: บอกเด็กๆว่า ตัวสุดท้าย ก็ชูมือสะกดคำว่า “ย.”

เด็กๆ ก็ก้มหน้าลงมือเขียนทันที

เด็กบางคนทำหน้าแหยๆ “เอครูพี่เลี้ยงแกล้งหรือเปล่าคะ?”

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอย่าเชื่อได้ทั้งหมด แม้แต่ครูพี่เลี้ยง

ฮิ

เรื่องของกบ

เจ้ากบน้อย ได้มาร่วมกันจัดการแข่งขัน
ปีนขึ้นไปบนยอดเสาเพื่อหาผู้นำของฝูง
เมื่อการแข่งขันได้เริ่มขึ้น กบตัวที่หนึ่ง ก็ปีนขึ้นไป
พวกฝูงกบข้างล่างก็ตะโกนขึ้นมาว่า ไม่สำเร็จหรอก เสานั้นมันสูงเกินไป
พอพูดไม่ทันจบประโยค กบตัวแรกก็รู้สึกเหนื่อยและท้อจนตกลงมา

กบตัวที่สอง ก็พยายามปีนขึ้นไป สักพักฝูงกบก็ตะโกนอีกว่า มันยากเกินไป
ไม่มีใครทำได้หรอก ไม่นานกบตัวนั้นก็ตกลงมาอีก
จนถึงตัวที่ สาม สี่ ห้า ก็เป็นเช่นเดิม
จนถึงกบตัวที่สุดท้าย มันตั้งหน้าตั้งตาปีนขึ้นไปสูงขึ้นสูงขึ้น
ฝูงกบข้างล่างยังตะโกนเหมือนเช่นเดิมว่า ลงมาเถอะ ไม่มีใครทำได้หรอก
แต่กบตัวนี้ยังปีนขึ้นไปปีนขึ้นไป จนในที่สุดมันก็ปีนไปถึงยอดเสาได้

เพื่อนๆอยากรู้ไหมคะว่าทำไมกบตัวนี้ถึงสามารถปีนถึงยอดเสา
ไม่เหมือนกบที่ตกลงมาตัวแล้วตัวเล่า
ที่ปีนไปได้เพราะมันหูหนวกไม่ได้ยินเสียงที่เพื่อนพ้องกบตะโกนเรียกให้ลงมา

นิทานเรื่องนี้จึงบอกให้รู้ว่า

คำพูดนั้นมีพลังอันยิ่งใหญ่ ที่สามารถจะดึงความฝัน ความหวัง
ความปรารถนาในหัวใจ ของคนเราให้สูญสิ้นหมดไปได้
เพราะฉะนั้นแล้ว ควรที่จะเลือกเก็บแต่คำพูดที่ทำให้หัวใจเราชุ่มชื่น
และเลือกละเลยคำพูดที่ทำให้กำลังใจเราเหือดแห้งหมดหวัง
และเหนือสิ่งอื่นใด หากมีความหวังเกิดขึ้นแล้ว
ขอให้เชื่อมั่นในศักยภาพและเป็นตัวของตัวเองค่ะ

คัดลอกจาก...
http://th.uncyclopedia.info/wiki/%E0%B8 ... 7%E0%B8%81

ลืมเบอร์ห้อง

สองหนุ่มหูหนวกขับรถมาถึงหน้าคอนโดเพื่อน กลางดึก

บุญหนวก: จำเบอร์ห้องบุญเงียบไม่ได้ว่ะ

บุญเชียบ: ก็ให้บีบแตรเรียกสิ

บุญหนวก: บีบแตรทำไม เขาไม่ได้ยินเสียงนี่

บุญเชียบ: ไม่ได้จะให้บุญเงียบได้ยินหรอก แต่จะให้คนอื่นเขาตื่นขึ้นมาเปิดไฟ จะได้รู้ห้องที่ปิดไฟ นั่นแหละห้องเพื่อนเรา ฮิ

11 พฤษภาคม 2553

นางงามหูหนวกโลก

สวัสดีค่ะ พี่น้องชาวไทยหูหนวก

ในเดือนกรกฤาคม การเเข่งขันประกวด นางงามทั่วโลกสำหรับคนหูหนวก จัดขึ้นในวันที่ 16 กค 2553 ที่ Las Vegas ณ สหรัฐอเมริกา


ขอช่วยเชียร์กำลังใจให้นางงามไทย (Thailand) กรุณาส่งต่อ


คลิก http://www.missdeafinternational.com/photosbios.php




มีคำถาม หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบถามได้ ไปที่อีเมล์

looktal25@hotmail.com ยินดีเสมอ




ขอบคุณมากค่ะ


ลูกตาล

03 พฤษภาคม 2553

ขอเชิญอาสาสมัครค่ายผู้นำคนหูหนวก


สวัสดีพี่ๆน้องๆ

ค่ายผู้นำเยาวชนคนหูหนวก จะมีจัดขึ้นประมาณวันที่ 5 - 9 ส.ค. 2553 ขอเชิญคนหูหนวกท่านใดสนใจอาสาสมัครผู้นำ อายุ 20-35 ปี จำนวน 8 - 10 คน โดยเข้าทำงานร่วมกับคนหูหนวกอเมริกัน จะมีการคัดเลือกอาสาสมัครผู้นำค่ายที่มีประสบการณ์จริง

โครงการนี้ได้จัดขึ้นโดยคนหูหนวกอเมริกัน โดยผู้นำอาสาสมัครคนหูหนวกอเมริกัน ประมาณ 8 - 10 คน ซึ่งเป็นของกลุ่มชื่อว่า GRO (Global Reach Out Initiative, Inc)

เว๊บไซต์ http://www.globalreachout.org/

จัดค่ายขึ้นเพื่อนักเรียนหูหนวกจากโรงเรียนต่างๆในภาคกลาง ประมาณ 20 คน ฝึกฝนความเป็นผู้นำ

สถานที่จัดค่ายนั้นจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ติดต่อขอใบสมัคร ติอต่อได้ที่คุณผคม: hunuak@live.com
และนำส่งตามที่อยู่ด้านล่างนี้

ม.ล.ณิชอิสรีย์ จักรพันธุ์ (ผู้ประสานงาน)
690/1 ซอยประดิพัทธ์5 (ฝั่งเหนือ)
ถนนพระราม6 สามเสนใน
พญาไท กรุงเทพฯ 10400

ครู"ญาดา ชินะโชติ" เชื่อมโลกเงียบด้วยภาษามือ



วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7091 ข่าวสดรายวัน

คัคนานต์ ดลประสิทธิ์ รายงาน





โดยธรรมชาติคนทั่วไปที่มีการได้ยินปกติมักจะติดต่อสื่อสารกันด้วยการใช้ภาษาพูด หรือใช้การฟังเสียงพูดและใช้การพูด ซึ่งฝึกโดยการเปล่งเสียงพูดเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน เมื่อคนหูหนวกไม่สามารถได้ยินเสียงพูด คนหูหนวกจึงไม่สามารถเปล่งเสียงพูดหรือใช้ภาษาพูดเหมือนคนทั่วไปได้

เพราะฉะนั้นคนหูหนวกทั่วโลกสื่อสารด้วยการใช้ "ภาษามือ" ซึ่งใช้จากการดูและการเคลื่อนไหวของมือประกอบกับการเคลื่อนไหวส่วนอื่นๆ ของร่างกาย รวมทั้งการแสดงออกทางสีหน้า

ดังนั้น น.ส.ญาดา ชินะโชติ อายุ 65 ปี อาสาสมัคร อดีตอาจารย์ 3 ระดับ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ จึงมีแนวคิดที่จะเปิดสอนภาษามือให้กับคนหูหนวกและคนปกติ ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ในทุกวันเสาร์ที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร วันละ 2 ชั่วโมง โดยจะเริ่มสอนในวันเสาร์ที่ 5 มิ.ย.นี้

สำหรับครูญาดาเล่าถึงชีวิตของตัวเองว่า "เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ตายคงเป็นที่ราชบุรี เพราะไปซื้อบ้านไว้ใกล้บ้านพักคนชรา ต.น้ำพุ จ.ราชบุรี มาหูหนวกตอนอายุ 11 ขวบ เพราะป่วยไข้ไทฟอยด์แล้วแพ้ยา"

หลังจากหูหนวกครูญาดาได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเศรษฐเสถียร เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่งให้เรียนที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร

เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนเศรษฐเสถียร สอบครูประถมครูมัธยมได้ และได้ไปดูงานสอนเด็กหูหนวกที่ประเทศสหรัฐ อเมริกา 1 ปี เมื่อกลับมาได้มาเรียนต่อและจบปริญญาตรี เอกอนุบาล ที่วิทยาลัยครูสวนดุสิต แล้วมาได้ปริญญาตรี เอกประถมอีกใบ ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

"หลังจากเรียนจบก็มาเป็นครูสอนที่โรงเรียนเศรษฐเสถียรจนเกษียณ ระหว่างที่เป็นครูได้รางวัลครูสอนระดับประถมดีเด่นระดับประเทศภูมิใจแล้วคะ"

พอเกษียณก็มาเป็นอาสาสมัคร เพื่อให้คนหูหนวกกับคนปกติมีกิจกรรม โดยใช้ภาษามือเป็นสื่อ



สําหรับการสอนภาษามือให้กับคนหูหนวกและคนปกติ ในทุกวันเสาร์

ครูญาดามีจุดประสงค์หลักคือ ให้คนปกติและคนหูหนวกสามารถร่วมกิจกรรมกันได้ โดยใช้ภาษามือเป็นสะพานเชื่อม ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กใหม่เรียนรู้คำศัพท์ของภาษามือ ขณะที่การสอนภาษามือให้กับเด็กโต ก็เพื่อให้เด็กโตเตรียมความพร้อมและสามารถใช้คำศัพท์ภาษามือที่เหมือนและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น การกินข้าว เด็กที่มาจากโรงเรียนอื่นอาจจะใช้ในอีกคำศัพท์หนึ่ง แต่ถ้ามาเรียนที่นี่จะมีคำศัพท์โดยเฉพาะที่นักเรียนทุกคนจะต้องใช้เหมือนกัน รวมทั้งสอนให้รู้จักการแปลภาษามือให้เป็นภาษาไทย



ส่วนการสอนภาษามือให้กับคนปกติ ก็เพื่อสอนคำศัพท์ภาษามือและแนะนำไวยากรณ์ภาษามือ แนะนำการช่วยเหลือคนหูหนวก แนะนำการเป็นล่ามภาษามือ รวมทั้งการแนะนำการใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์

ครูญาดาอธิบายผ่านการเขียนและภาษามือว่า การมาสอนพูดให้กับคนหูหนวก โดยปกติแล้วคนหูหนวกไม่กล้าเข้าหาคนหูดี เพราะกลัวว่าตัวเองจะเขียนภาษาไทยผิด ซึ่งคนหูดีจะไม่เข้าใจในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม คนหูหนวกกับคนหูหนวกจะรับภาษามือกันได้เร็วกว่าคนหูดี เด็กสามารถเรียนรู้ภาษามือได้จากครูพี่เลี้ยง ขณะที่ครูปกติจะช่วยเรื่องการเขียนภาษาไทยและการฝึกพูด ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสกับเด็กทุกคนที่มีความสามารถแตกต่างกัน

ครูญาดากล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนภาษามือว่า เด็กจะได้คำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นและรู้จักการนำคำมาใช้เป็นประโยคภาษาไทย รวมทั้งรู้จักโลกกว้างกว่าเดิม ขณะเดียวกันเด็กจะมีความกล้าที่จะเข้าพบคนปกติมากขึ้น ตลอดจนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาไทยมากขึ้น

ลักษณะการสอนภาษามือให้กับเด็กเล็กนั้น จะสอนโดยใช้ของจริงพร้อมทั้งอธิบายคำศัพท์ เช่น ก.ไก่ คนปกติจะเริ่มอ่านคำว่า กอ.ไก่ แต่สำหรับคนหูหนวกจะสอนโดยเขียนเป็นคำ เช่น เขียนคำว่ากิน จากนั้นจะบอกว่า ก.เป็นพยัญชนะตัวที่เท่าใด น.เป็นพยัญชนะตัวที่เท่าใด และสระอิ คืออะไร และที่สำคัญคือคนหูหนวกจะจดจำเพียงแค่ตัวเดียว เช่น กอ.ไก่ จะจำเพียง ไก่ เท่านั้น ขอ.ไข่ จะจำเพียง ไข่ เท่านั้น

ทั้งนี้ การสอนจะเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัว สิ่งดำรงชีวิตประจำวัน และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบวัน

ขณะเดียวกันการสอนภาษามือให้กับเด็กโตก็จะสอนคำศัพท์ใหม่ๆ และสอนเพิ่มเติมจากประสบการณ์เดิมและประสมประสานหรือปรับ เช่น คำว่าจังหวัด โดยเด็กโตจะมีความรู้ คำว่า วัด จากนั้นจะเพิ่มเป็น หวัด ส่วนคำว่าจังจะใช้ภาษามือจดจำไว้ แล้วรวมกันว่า จังหวัด





ครูญาดายังได้อธิบายความแตกต่างระหว่างภาษามือสากล-ภาษามือไทย ว่า ภาษามือของคนหูหนวกแต่ละชาติมีความแตกต่างกันเช่นเดียวกับภาษาพูด ตามวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีและสภาพแวดล้อมของแต่ละชาติ

รัฐบาลหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงประกาศให้ภาษามือเป็นภาษาแม่และภาษาประจำชาติของคนหูหนวก อย่างไรก็ตาม คนหูหนวกที่อยู่ในประเทศเดียวกันก็อาจมีภาษามือท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคเช่นเดียวกับภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นประจำภาค

ภาษามือมีคุณสมบัติของการเป็นภาษาเช่นเดียวกับภาษาต่างๆ ภาษามือของแต่ละชาติมีศัพท์และไวยากรณ์หรือกฎระเบียบการเรียงคำและคุณสมบัติอื่นๆ แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นภาษามือไม่ได้เป็นภาษาสากลที่คนหูหนวกทุกชาติใช้สื่อสารกันได้

"ความแตกต่างระหว่างภาษามือสากล-ภาษามือไทยนั้น จะแตกต่างกันที่ภาษามือไทยท่ามือจะสะกดมากกว่าภาษามือสากล เพราะภาษามือไทยจะมีสระและวรรณยุกต์ ทั้งนี้ คำศัพท์อักษร A-Z ก็จะใช้ตามแบบของประเทศสหรัฐ อเมริกา แต่ทุกประเทศจะมีภาษามือเป็นของตัวเอง เช่น A=อ, K=ก, K+1=ข, K+3=ค, L=ล, L+1=ฬ, P=พ, P+1=ป, P+2=ผ เป็นต้น"

ศัพท์ภาษามือส่วนใหญ่กำหนดโดยคนหูหนวก เพื่อให้คนหูหนวกในกลุ่มเดียวกันสามารถสื่อสารกันได้โดยง่ายและกว้างขวาง แต่ศัพท์ภาษามือส่วนหนึ่งเป็นการใช้ภาษาร่างกายหรือการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ของร่างกายตามธรรมชาติ ซึ่งคนทั่วไปที่มีการได้ยินปกติอาจเข้าใจความหมายได้

ครูญาดากล่าวถึงข้อจำกัดของศัพท์ภาษามือไทยว่า ปัจจุบันแต่ละประเทศได้พัฒนาความรู้ต่างๆ อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและมีการติดต่อกันอย่างกว้างขวาง จึงทำให้เกิดองค์ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมาก

ดังนั้น ในการกล่าวถึงหรืออธิบายเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อใช้สื่อสารกัน ทั้งนี้ ประเทศไทยก็มีการกำหนดศัพท์เกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบการใช้คำภาษาไทยและการใช้ศัพท์ของต่างชาติ เช่น โลกาภิวัตน์ เจตคติ การ์ตูน ไอศกรีม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ภาษามือไทยเป็นภาษาของคนหูหนวกซึ่งมีอยู่จำนวนน้อย จึงมีโอกาสได้รับการพัฒนาศัพท์น้อย ศัพท์พื้นฐานของภาษามือไทยมีน้อยกว่าภาษาไทยและภาษาอื่นๆ มาก

ครูญาดาอธิบายเพิ่มเติมว่า ดังนั้น คนหูหนวกและคนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับคนหูหนวก โดยเฉพาะครูและผู้ปกครองของคนหูหนวก จึงได้คิดค้นและกำหนดคำศัพท์ภาษามือเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ โดยมักเทียบเคียงหรือใช้ศัพท์ภาษาไทยเป็นฐาน เมื่อมีความรู้ใหม่เกิดขึ้นก็ต้องกำหนดศัพท์ภาษามือเพิ่ม

เพื่อให้คนหูหนวกมีศัพท์ภาษามือเพียงพอที่จะสามารถเรียนรู้และสื่อสารกันได้ใกล้เคียงกับคนทั่วไปมากที่สุด



โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์

โรงเรียนเศรษฐเสถียร เดิมชื่อโรงเรียนคนหูหนวกดุสิต เป็นโรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งแรกในประเทศไทย สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2496 ซึ่งตรงกับวันสิทธิมนุษยชนโดยที่ คุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 4 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา พร้อมตึก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของท่านให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับคนหูหนวกขึ้น

และได้ตั้งมูลนิธิเพื่อสนับสนุนโรงเรียน ชื่อมูลนิธิเศรษฐเสถียร ซึ่งมาจาก โชติกเสถียร (นามสกุลเดิมของคุณหญิงโต๊ะ) และ เศรษฐบุตร (นามสกุลเดิมของพระยานรเนติบัญชากิจ) สามีของท่าน และต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสอนคนหูหนวกดุสิตเป็นโรงเรียนเศรษฐเสถียร เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่มูลนิธินี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2518 เป็นต้นมา

โรงเรียนเศรษฐเสถียรมีตราประจำโรงเรียนเป็นอักษรย่อ ส.ศ.ส. ล้อมรูปมือ หู และปาก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวิธีการสื่อความหมายของคนหูหนวกที่ใช้ภาษามือร่วมกันกับการใช้การได้ยินที่หลงเหลืออยู่ โดยการฝึกให้พูดและการอ่านริมฝีปาก

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ก.ย.2545 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนเศรษฐเสถียรไว้ในพระราชูปถัมภ์

ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับพระราชทานและอนุญาตให้ใช้ตราประจำโรงเรียนอักษรย่อ ส.ศ.ส. ล้อมรูปมือ หู และปาก

ภายใต้ชื่อโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์

หน้า 21