19 มกราคม 2555

ศอบท.



ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ

ในสังคมข้อมูลข่าวสาร การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณะนั้นถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างเสริมและพัฒนาความรู้เพื่อทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขตามอัตภาพของแต่ละคน ส่วนบริการสาธารณะก็เป็นการเติมเต็มปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่มนุษย์พึงได้รับจากระบบสวัสดิการของรัฐ
การบริการโทรคมนาคม เป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ดูเหมือนในปัจจุบัน จะกลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 เพิ่มจากปัจจัย 4 ที่มนุษย์จำเป็นต้องมี อันประกอบด้วย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ และยารักษาโรค ซึ่งก็เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับจากการสื่อสารผ่านบริการโทรคมนาคมนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกันอย่างสะดวกในกรณีฉุกเฉิน การลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปมาหาสู่กัน และที่สำคัญคือความสะดวกรวดเร็ว
การเข้าถึงบริการโทรคมนาคมของคนทั่วไป คงเป็นเรื่องที่ไม่ลำบากมากนัก หากเทียบกับคนพิการและผู้สูงอายุ เนื่องจากความบกพร่องของร่างกายหรือสติปัญญา เป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นสมาชิกของสังคมที่มีสิทธิเท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ รวมทั้งสิทธิในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมด้วย
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 09 ธันวาคม 2011 เวลา 09:01 น.

อ้างอิง จาก http://www.tede.or.th/

18 มกราคม 2555

Jurus Angkie Yudistia Berkomunikasi คนหูหนวกอินโดนีเซีย



ขอเก็บเธอไว้ใน บล็อก Hunuak เธอเป็นคนหูหนวกอินโดนีเซียที่ผู้เขียนรู้จัีก
เขาเคยมาประชุมที่เมืองไทย เธอเป็นคนสวย และเก่งมากๆ ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงาน
I'd like to keep her, she, Indonesian Deaf, is smart and beautiful. Jurus Angkie Yudistia.

17 มกราคม 2555

Thai Deaf TV ได้ออกรายการ คนต้นแบบ


รายการคนต้นแบบ สถานีโทรทัศน์ TNN 24 Truevisions วันที่ 8 มกราคม 2555

ครั้งหนึ่งในชีวิต :)


คลิปเก่า แต่เรื่องเจ๋ง ราชสุดารุ่น 2 ไปเข้าเฝ้าพระเทพฯ สำหรับคนหูหนวก เรื่อง 3 D

16 มกราคม 2555

Egypt Deaf Travel

Welcome to EDT! from Egypt Deaf Travel on Vimeo.



คนหูหนวกอียิปต์ ไกด์ท่องเที่ยว น่าสนใจมาก
ใครอยากไป ติดต่อ และจองได้ที่ http://egyptdeaftravel.com/

15 มกราคม 2555

เชียร์ลีดเดอร์หูหนวก



ไม่น่าเชื่อว่าคนหูหนวกจะทำได้ เห็นแล้วซาบซึ้งจริงๆ จากรายการ Thailand's Got Talent ให้คะแนนความสามารถนี้ผ่านเข้ารอบ ถ้าคนหูหนวก หรือคนพิการ ทำสิ่งใดด้วยความตั้งใจจริง จะเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ชมอย่างไม่รู้ลืม ขอให้คนหูหนวกสู้ๆครับ

ล้อเล่นโลก สัมภาษณ์หูหนวก


รายการดีมากๆ จาก ทีวีไทย ได้ข้อคิด แรงบันดาลใจมากมาย โดยเฉพาะพิธีกรเป็นคนสายตาเลือนราง เสาะแสวงหา ความคิด การดำเนินชีวิต มาสัมภาษณ์อาจารย์วิทยาลัยราชสุดา สุดยอดมาก ติดตามชมนะครับ

เรียนรู้ภาษามือแบบใหม่

ภาษามือการคูณ


ภาษามือคูณๆ สามารถคำนวณ การคูณ ตั้งแต่เลข 6 - 9 เช่น 6x6 6x7 6x8 6x9 จนถึง 9x9 ได้

เรื่องเล่า บังกลาเทศ

สัมภาษณ์ ประธาน PDAD

27 ส.ค. 54 ประกวดนายแบบ DEAF

คอร์สภาษามือไทย 29 ส.ค. - 2 ก.ย. 54

ภาษามือไทย ไข่เจียว :)

น้ำท่วม 30 ต.ค. 2554

น้ำท่วม 29 ต.ค. 2554

น้ำท่วม 29 ต.ค. 2554

น้ำท่วม 28 ต.ค. 2554

สนามหลวง

น้ำท่วม 27 ต.ค. 2554

14 มกราคม 2555

น้ำท่วม ที่ ตลาดท่านา ตลาดร้อยปี

Thai Deaf Talk # ประกวดเดินแบบหูหนวก




รายการสัมภาษณ์ด้วยภาษามือเต็มจอรายการแรกในประเทศไทย อีก 1 รายการคุณภาพจาก Thai Deaf TV โดย ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ และกลุ่ม pmg

เทปนี้สัมภาษณ์ประธานจัดงาน ผู้ชนะเลิศการประกวด PDAD DEAF 2011 ที่ MCC HALL เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน 27 สิงหาคม 2554

เทศกาลภาพยนตร์สั้นของคนหูหนวก




เบื้องหลัง การทำ 5 ภาพยนตร์สั้นหลายรส หลากอารมณ์ หลากลีลา จาก คนหูหนวก และ พี่ๆ ที่ อบรมให้คนหูหนวก ได้เล่าความรู้สึกที่ได้ทำงานรวมกับ คนหูหนวกอย่างไร เชิญดูได้ครับ และ ขอขอบคุณ กลุ่มธรรมดีทำดี และ คุณหล่งเป็นผู้คิด โครงการอบรมทำหนังสั้นให้คนหูหนวกมีโอกาสเรียนรู้ได้ดีครับ

HUNUAK News


กลับมาอีกครั้ง จะรวบรวมข่าวหูหนวกไทย ภาษามือไทย ติดตามชมนะครับ

13 มกราคม 2555

"TTRS" เพื่อคนหูหนวก


การถ่ายทอดการสื่อสารระหว่างผู้บกพร่องทางการได้ยิน มักมีข้อจำกัดในการสื่อสารด้วยการพูด อาจทำให้มีปัญหาทางการสื่อสารที่ผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ฝ่ายผู้รับปลายทางอาจไม่มีหรือผู้รับไม่เข้าใจเนื้อหาที่สื่อสารโดยตรง เช่น การสื่อสารด้วยภาษามือ
ทว่าอีกไม่กี่เดือน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้มีการอนุมัติให้มีการจัดทำโครงการนำร่อง ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูด โดยได้ร่วมมือกับมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดทำ "ศูนย์ถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย" (Thai Telecommunication Relay Service ) หรือเรียกสั้นๆว่า ศูนย์ TTRS
"ศูนย์ TTRS เป็นบริการใหม่ล่าสุดในประเทศไทย จะเปิดใช้งานจริงในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ มีลักษณะเป็นคอลเซ็นเตอร์ จะมีประโยชน์มาก ยกตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินจะติดต่อสื่อสารให้แม่มารับ หากแม่นั้นใช้โทรศัพท์บ้านก็ไม่สามารถที่จะใช้ข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือมาที่โทรศัพท์บ้านได้ หากศูนย์เปิดให้บริการก็จะเป็นสื่อกลาง แปลข้อความจากมือถือโทรศัพท์ไปบอกแม่ที่เบอร์บ้าน ถ้าแม่จะบอกให้ลูกรออยู่ที่ไหน ล่ามก็จะส่งข้อความกลับไป" วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติแนะนำ


ผอ.วันทนีย์ ยังเสริมว่า นอกจากการส่งข้อความผ่านมือถือแล้ว แล้วยังสามารถถ่ายคลิปที่ผู้ส่งสารใช้ภาษามือ ส่งเป็นคลิปวิดีโอมาศูนย์ จะมีเจ้าหน้าที่ที่จะแปลข้อความไปยังผู้รับได้ โดยการคิดค่าใช้จ่ายจะคิดตามโปรโมชั่นปกติของแต่ละเครือข่ายในการส่งเข้ามา เช่น ข้อความละ 3 บาท แต่ข้อความที่ส่งกลับไปหรือส่งไปหาปลายทางนั้นจะไม่มีการคิดเงินแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ยังเปิดบริการที่เป็น "Internet relay service" เป็นเหมือนกับแชท ผ่านตู้สีฟ้า ที่กำลังนำไปตั้งไว้ตามจุดบริการนำร่องทั้ง 30 จุด โดยหลักการทำงานของตู้ดังกล่าว ผู้บกพร่องทางการได้ยินจะสามารถสื่อสารด้วยภาษามือกับเจ้าหน้าที่ผ่านตู้นี้


ขณะนี้หลายหน่วยงานให้ความสนใจในการให้บริการของศูนย์ อาทิ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาฯ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า, เซ็นทรัลเวิลด์, พันธุ์ทิพย์ และ สน.ทุ่งมหาเมฆ สน.คลองตัน เป็นต้น โดยแต่ละสถานที่ที่ให้ความสนใจติดต่อเข้ามา ต้องดูด้วยว่าสถานนั้นๆ มีไฟและอินเทอร์เน็ตความเร็วไม่ต่ำ 1 เมก
สำหรับเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์ สมัครและคัดเลือกมาจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชสุดา 7 คน มีเจ้าหน้าที่ควบคุมอีก 2 คน หมุนเวียนกันทำงานตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 5 ทุ่ม ทั้งนี้ ในช่วงการทดลองระบบ มีการเทรนล่าม รวมทั้งหาผู้บกพร่องทางการได้ยิน 300 คนมาใช้บริการเพื่อเป็นการทดสอบระบบว่าต้องแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรหรือไม่


6 บริการ...จาก "TTRS"



- บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบ "เอสเอ็มเอส" (ข้อความสั้นๆ) "เอ็มเอ็มเอส" (ข้อความภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว) : ผู้บกพร่องทางการได้ยินจะส่งผ่านข้อความต่างๆ ไปยังศูนย์ที่มีเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่จะส่งเป็นเสียงพูดไปยังผู้รับปลายทาง
- บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบข้อความออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต : ผู้บกพร่องทางการได้ยิน จะส่งข้อความออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตไปยังเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสาร จากนั้นจะมีการส่งเป็นเสียงพูดไปยังผู้รับปลายทาง
- บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนอินเทอร์เน็ต : ผู้บกพร่องทางการได้ยิน จะส่งภาพเคลื่อนไหวออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตไปยังเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสาร ส่งเป็นเสียงพูดและส่งไปยังผู้รับปลายทาง
- บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ : ผู้บกพร่องทางการได้ยินจะส่งภาพเคลื่อนไหวบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสาร จากนั้นส่งเป็นเสียงพูดไปยังผู้รับปลายทาง
- บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบภาพเคลื่อนไหวบนเครื่องบริการสาธารณะ : ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินกับผู้รับส่งภาพเคลื่อนไหวออนไลน์บนบริการสาธารณะ ไปยังเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสาร จะส่งเป็นเสียงพูดกลับมายังผู้รับปลายทางที่อยู่ข้างๆ
- บริการถ่ายทอดการสื่อสารเพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน : ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินส่งทุกวิธีใน 1-5 เจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสารส่งเป็นเสียงพูดให้หน่วยงานรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน

เสียงบรรเลงในโลกเงียบ ของ 'น้องติ๊ก-ศิตาพร'


ไปงาน “ไทยแลนด์ แจ๊ส คอมเพติชั่น ครั้งที่ ๕” รอบชิงชนะเลิศ และยังพ่วงงานเลี้ยงปีใหม่ให้กับน้อง ๆ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ที่มีคอนเซปต์เก๋ ๆ ว่า “แม้พวกเขาจะไม่ได้ยินเสียง แต่พวกเขาสามารถเล่นดนตรี และสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้” ซึ่งจัดโดยบริษัท พรูเดนเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และที่นี่เราได้พบกับ “น้องติ๊ก-ศิตาพร พิภพวรไชย” นักเปียโนหญิงที่บกพร่องทางการได้ยิน พอได้ฟังน้องเล่นเปียโนทั้งเพลงพระราชนิพนธ์และอีกหลายเพลง ถึงกับอึ้ง ขนาดคนปกติยังเล่นยาก เพราะต้องอาศัยทั้งจังหวะ ทำนอง สมาธิ บวกกับความฝึกฝน ทั้งที่น้องติ๊กไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย แต่กลับเล่นดนตรีออกมาได้อย่างไพเราะ

เราจึงไม่พลาดที่จะจับน้องติ๊กมานั่งคุยกันแบบตัวเป็น ๆ โดยผ่านทั้งการเขียน และการแปลภาษามือจากเจ้าหน้าที่สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย รวมไปถึงการคุยผ่านเฟซบุ๊ก สังคมออนไลน์ซี่งกำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่นยุคนี้ น้องติ๊กเริ่มเรียนเปียโนกับอาจารย์ตรีรัตน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ ที่ปรึกษาโครงการดนตรีบำบัดด้านเปียโน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ม.๔ จนถึงปัจจุบัน

ขณะที่คุณพ่อชัยเวทย์ พิภพวรไชย บอกว่า น้องติ๊กเกือบจะไม่ได้เป็นนักเปียโนที่พิเศษอย่างเช่นปัจจุบัน เพราะคุณพ่อไม่เชื่อว่า “คนที่ไม่ได้ยินเสียงจะเล่นดนตรีได้” แต่เพราะความสมัครใจและมั่นใจของน้องติ๊กที่ต้องการ “ลองเล่น” ทำให้คุณพ่อตัดสินใจที่จะให้น้องไปเรียนเปียโนตามที่อาจารย์ตรีรัตน์ร้องขอ

น้องติ๊กเล่าผ่านภาษามือว่า วิธีการเรียนการสอนจะเริ่มจาก อาจารย์จะใช้ตัวเลขแทนคีย์และโน้ตดนตรีแต่ละตัวให้น้องท่องจำ ดังนั้นโน้ตดนตรีของน้องติ๊กจึงไม่เหมือนโน้ตคนปกติ คือ จะต้องแปลงเป็นตัวเลขก่อน ตอนแรก ๆ ก็หงุดหงิดมากที่เล่นไม่ได้ และไม่ได้ยินเสียงด้วย แต่ก็ไม่ท้อค่ะ พยายามคิดว่าตัวเองต้องทำให้ได้ พอเล่นไปเรื่อย ๆ คือทำให้เรามีสมาธิมากขึ้น ทำให้เรานิ่งขึ้นก็เลยชอบ และที่สำคัญคือ เราอยากทำให้คนอื่นเห็นว่าแม้เราจะ ไม่ปกติเหมือนคนอื่น แต่เราก็สามารถทำทุกอย่างเหมือนคนอื่นได้ ตอนนี้ติ๊กกำลังเรียนอ่านโน้ตดนตรีสากลอยู่ค่ะ แม้จะยังทำได้ไม่ดีนักแต่ก็จะพยายาม ต่อไปติ๊กจะสามารถอ่านโน้ตปกติได้เหมือนคน อื่นค่ะ”

แม้น้องติ๊กจะไม่เคยได้สัมผัสเสียงอันเกิดจากสิบปลายนิ้วของตนเองที่พรมลงบนคีย์เปียโน ว่าเพราะพริ้งเพียงใด แต่รอยยิ้มและภาพการปรบมือของผู้คนในทุกครั้งที่น้องติ๊กบรรเลงจบ สร้างอารมณ์และความรู้สึก “ปลื้มใจ” และ “ภาคภูมิใจ” ให้เธอได้ทุกครั้ง

น้องติ๊กพิการทางการได้ยินมาแต่กำเนิด และเริ่มเรียนหนังสือในโรงเรียนเศรษฐเสถียร ปัจจุบันเรียนจบระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ขณะที่เรียนในระดับอุดมศึกษาได้เรียนร่วมกับคนปกติ จึงจำเป็นต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่น เพื่อจะเรียนตามเพื่อน ๆ ให้ทัน ในบางครั้งไม่เข้าใจในบทเรียน อย่างเช่น ศัพท์เฉพาะ ซึ่งก็ได้เพื่อน ๆ และอาจารย์ช่วยเหลืออย่างดี

ในวัยเด็กแม้จะเคยน้อยใจและมีปมด้อยในความไม่ปกติของตนเอง แต่น้องติ๊กก็แปรเปลี่ยนความน้อยใจมาเป็นแรงผลักดันและเป็นปมเด่นที่จะทำทุกอย่างให้ได้เหมือนคนอื่น ๆ เพราะความมุ่งมั่นและหลายคนเห็นความสามารถ ทำให้น้องติ๊กถูกเชิญไปเล่นเปียโนในงานสำคัญ ๆ ออกรายการโทรทัศน์หลายครั้ง หรือแม้แต่เล่นเปียโนกับนักดนตรีมืออาชีพ อย่าง โก้ มิสเตอร์แซ็กแมน เธอก็เคย มาแล้ว

น้องติ๊กวาดฝันในอนาคตว่าอยากจะเรียนต่อในระดับปริญญาโท รวมไปถึงการมีหนังสือถ่ายภาพและท่องเที่ยวเป็นของตัวเอง โดยเธอบอกว่าต้องการถ่ายทอดเรื่องราวโดยเฉพาะธรรมชาติสวย ๆ ทั่วเมืองไทยออกมาเป็นภาพถ่ายในรูปแบบของเธอเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นความหวังของน้องติ๊กก็คือ อยากจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้พิการคนอื่น ๆ ให้ลุกขึ้นสู้ชีวิต ถึงแม้จะมีอุปสรรคบ้าง แต่ต้องมีความพยายามและไม่ย่อท้อ เหมือนกับ น้องติ๊ก-ศิตาพร ที่ก้าวข้ามอุปสรรคความพิการของร่างกาย จนกลายเป็นนักเปียโนทั้งที่บกพร่องทางการได้ยิน แม้แต่คนปกติยังต้องยกนิ้วให้....!!! (เดลินิวส์ออนไลน์ /มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๗ ม.ค. ๒๕๕๓)

โดย มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย - 19 ม.ค. 53

ทีมเด็กหูหนวกคว้ารางวัลรองชนะเลิศโครงการประกวดสื่อการสอนฯ


นายสนฉัตร วรวุฒิวิทยารักษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ชินวุธ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า บริษัท จัดโครงการประกวดสื่อการสอนที่ใช้ร่วมกับกระดานอินเตอร์แอคทีฟ ภายใต้ชื่อ โครงการไอบอร์ด ครีเอทีฟคอนเทสต์ (iBoard Creative Contest) ครั้งที่ ๑ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนสามารถเข้าใจการผลิตสื่อการสอน รวมทั้งครู และอาจารย์ ก็สามารถเข้าใจเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มีนักเรียน นักศึกษาสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า ๑๐๐ ทีม และเหลือ ๑๐ ทีมสุดท้ายมาจัดแสดง

โครงการดังกล่าวยังสนับสนุนให้ผู้สอนกับผู้เรียน ได้ร่วมกันพัฒนาสื่อการสอนแบบใหม่ๆ อีกทั้ง มุ่งหวังเพื่อจะพัฒนาเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มเด็กพิเศษให้มีที่ยืนในสังคมได้มากยิ่งขึ้น เห็นได้จากทีมที่เข้าประกวดในครั้งนี้ ที่มี ทีมเด็กพิการหูหนวกสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศไปครอง

ด้าน นายโกวิทย์ ชนะเคน ตัวแทนผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ ในนามของ ทีม ๓G จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า ได้เห็นโครงการดังกล่าวจากอินเทอร์เน็ต จึงเกิดความสนใจประกอบกับรางวัลที่ได้สามารถต่อยอดในวิชาจบการศึกษาได้อีกด้วย จึงเข้าร่วมโครงการ และ เลือกวิชาภาษาอังกฤษในการผลิตสื่อการสอน เนื่องจากเห็นว่าภาษาอังกฤษค่อนข้างมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น และถ้าเด็กๆ มีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี สนุกกับการเรียนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ศึกษาง่าย และน่าสนใจ เช่น สีสัน อักษร เสียง กราฟฟิกต่างๆ เรียกความสนใจจากเด็กๆ ได้มาก โดยจุดเด่นของทีม ๓G อยู่ที่รูปภาพ กราฟฟิคที่สบายตา การทำแอนิเมชั่น และมีตัวหนังสือน้อยอ่านง่าย

สำหรับ รางวัลโครงการไอบอร์ดครีเอทีฟคอนเทสต์ ครั้งที่ ๑ ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษามูลค่า ๓ หมื่นบาท พร้อมกระดานอัจฉริยะเรสซ์ ไอบอร์ด หน้าจอ ๗๕ นิ้ว มูลค่า ๑.๒ แสนบาท รางวัลที่สอง ทุนการศึกษา ๒ หมื่นบาท พร้อมกระดานอัจฉริยะเรสซ์ ไอบอร์ด (Razr iBoard) ขนาดหน้าจอ ๕๖ นิ้ว มูลค่า ๗.๕ หมื่นบาท และรางวัลที่สาม ทุนการศึกษา ๑.๕ หมื่นบาท พร้อมกับกระดานอัจฉริยะเรสซ์ ไอบอร์ด ขนาดมินิ มูลค่า ๙,๙๐๐ บาท และรางวัลชมเชย ๗ รางวัล (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๓ )

โดย มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย - 20 มิ.ย. 53

"วากาบอนด์" การ์ตูนญี่ปุ่น....ยอดนักดาบหูหนวก


ไม่ขอพูดพล่ามทำเพลงให้มากพิธี คอลัมน์การ์ตูนตรึงใจ วันนี้ มีของดีมากฝากกันครับ เรื่องที่จะนำมาเสนอต่อท่านผู้อ่านคือ "วากาบอนด์" (Vagabond) ซึ่งฟังแล้วชื่อเหมือนกับเป็นการ์ตูนฝรั่ง ไม่ใช่ของญี่ปุ่น โดยคำว่า วากาบอนด์นั้น ในภาษาอังกฤษ มีความหมายว่า "ผู้เร่ร่อน" โดยรากศัพท์ของคำๆ นี้มาจากภาษาละติน ผ่านทางภาษาฝรั่งเศสคำว่า vagabundus และ vagary

สำหรับการ์ตูนเรื่องวากาบอนด์ ได้นำเอาเค้าโครงเรื่องมาจากชีวประวัติของซามูไรผู้มีชื่อเสียงระดับตำนานของประเทศญี่ปุ่น นามว่า มิยาโมโตะ มุซาชิ (เป็นนวนิยายผลงานการประพันธ์ของ เอจิ โยชิคาวะ ตีพิมพ์ในนิตยาสารมอร์นิ่ง ตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๙๘) มาแต่งแต้มสีสันผ่านลายเส้นที่สวยงามของ ทาเคฮิโกะ อิโนอุเอะ เจ้าของผลงานสแลมดังก์ อันลือลั่น ตัวเอกของเรื่อง คือ มิยาโมโตะ มุซาชิ หรือชื่อเดิมคือ ชินเม็ง ทาเคโซ เป็นเด็กที่มีนิสัยเกกมะเหรกเกเร นิยมการใช้กำลัง จนถูกมองว่าเป็นอันธพาล และเป็นเด็กมีปัญหาของหมู่บ้าน ร้ายแรงถึงขนาดไม่มีใครยอมคบหาสมาคมด้วย สิ่งที่ทำให้ มิยาโมโตะ มุซาชิ กลายเป็นคนที่ร้ายกาจ ชอบการต่อสู้ เป็นเพราะมีปมด้อยที่ติดตัวมาตั้งแต่ยังเล็ก นั่นคือ การที่เกิดเป็นบุตรชายของ ชินเม็ง มุนิไซ ยอดนักผู้มีฝีมือลือเลื่อง ซึ่งความเก่งกาจของพ่อ ได้ทำให้เขาเกิดความรู้สึกกดดัน ไม่ต้องการอยู่ใต้ร่มเงาความยิ่งใหญ่ของพ่อ จึงต้องการพิสูจน์ให้ใครๆ เห็นว่า เขาเองก็มีฝีมือ และดีพอที่จะเป็นยอดนักดาบอันดับหนึ่งในปฐพี

ความทะเยอทะยานที่มากมายมหาศาล ทำให้ มิยาโมโตะ มุซาชิ เดินทางออกจากหมู่บ้านมิยาโมโตะ แคว้นซาคุ พร้อมด้วยเพื่อนสนิทอีกสองคน คือ ฮอนอิเด็ง มาตาฮาชิ และ โอซึอุ จากนั้นได้เข้าร่วมสงคราม เพื่อหวังจะสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ประจักษ์ แต่ทว่าฝ่ายที่เข้าร่วมกลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ทำให้เขาต้องหนีเอาตัวรอด ทั้งจากการตามล่าของทหารฝ่ายตรงข้าม และชาวบ้านที่โกรธแค้นเนื่องจากญาติมิตรถูกสังหาร ชีวิตของ มิยาโมโตะ มุซาชิ ต้องพบกับการต่อสู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันก็ได้ช่วยให้เขาได้พัฒนาฝีมือจนเก่งกล้าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแต่เดิมนั้น เขาเป็นนักสู้ประเทศบุ่มบ่าม มุทะลุดุดัน ใช้เพียงกำลังเข้าหักหาญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เปรียบก็คล้ายกับสัญชาตญาณของสัตว์ป่า ที่มุ่งเอาชนะด้วยกำลัง แต่เมื่อต่อสู้ไปนานเข้า ได้พบกับบุคคลที่มีลักษณะต่างๆ ซึ่งยอดฝีมือเหล่านี้ เป็นทั้งศัตรู และ อาจารย์ สอนให้เขาได้เรียนรู้ถึงสัจธรรม และ ปรัชญาของชีวิต ทำให้กลายเป็นนักดาบที่มีความสุขุมลุ่มลึก มีฝีมือน่าเกรงขามที่สุดว่ากันว่า น้อยครั้งนัก ที่มิยาโมโตะ มุซาชิ ประลองกับใครแล้วพบกับความพ่ายแพ้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าว่า เขาเคยถูกลูกศิษย์ของสำนักโยชิโอกะตามไล่ล่า แต่ก็กลับเป็นฝ่ายสังหารคนเหล่านั้นได้ถึง ๗๐ คน เพียงแค่ชั่วข้ามคืน ส่วนสาเหตุที่ถูกตามล่าก็เพราะเขาสังหารยอดฝีมือที่เป็นเจ้าสำนักโยชิโอกะถึง ๓ คน

นอกจากมิยาโมโตะ มุซาชิ แล้ว เนื้อเรื่องก็ยังได้กล่าวถึง ซาซากิ โคจิโร่ อีกหนึ่งยอดนักดาบ เขาเป็นผู้ที่มีใบหน้าอ่อนเยาว์ แต่เป็นคนที่อาภัพ คือ เป็นใบ้ และหูหนวก ต้องเป็นกำพร้าตั้งแต่ยังเล็ก เนื่องจากครอบครัวถูกสังหารหมู่ มีเพียงเขาคนเดียวที่รอดชีวิตพร้อมกับดาบที่ยาวกว่าดาบทั่วไปเป็นสมบัติติดกายเพียงชิ้นเดียว ดาบยาวเล่มนี้ เป็นสิ่งมีค่าของตระกูล และเป็นสิ่งที่โคจิโร่หวงแหนเป็นอย่างมาก หากมีใครแยกดาบออกไปห่างตัว มุโคจิโร่ในวัยเด็กก็จะร้องไห้จ้าในทันที ถ้าจะให้หยุดก็ต้องเอาดาบกลับมาไว้ในอ้อมแขนเหมือนเดิม คนที่ไปพบและชุบเลี้ยงโคจิโร่คือ คาเนมากิ จิไซ อดีตครูดาบที่ชีวิตตกอับ และหันหลังให้กับวงการ ซึ่งเป็นอาจารย์ของพ่อของโคจิโร่ ก่อนหน้านี้เป็นครูดาบที่มีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง แต่เพราะพ่ายแพ้แก่ลูกศิษย์คนหนึ่ง ทำให้เกิดความท้อแท้จนแทบไม่อยากจับดาบอีก จิไซ เลี้ยงดูโคจิโร่จนเติบใหญ่ แต่ก็ไม่ยอมให้โคจิโร่เรียนรู้วิชาดาบ เพราะไม่ต้องการให้มีจุดจบเช่นเดียวกับผู้เป็นพ่อ แต่โชคชะตาก็กำหนดให้โคจิโร่กลายมาเป็นนักดาบฝีมือฉกาจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ ที่ชดเชยความพิการของเขา ต่อมาโคจิโร่ได้ออกเดินทางไปพร้อมกับดาบยาว สมบัติชิ้นเดียวของตระกูลที่เหลืออยู่ และได้เป็นศิษย์ของ อิโต้ อิตโตไซ อีกหนึ่งยอดนักดาบ ผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ซึ่งเขาผู้นี้ ก็คือลูกศิษย์ผู้ที่เอาชนะ คาเนมากิ จิไซ นั่นเอง ส่วนการสอนของอิโต้ ที่ได้มีให้กับโคจิโร่นั้น คือการให้ต่อสู้จริง โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

การดวลกันระหว่างสองยอดฝีมือในเชิงดาบ หนึ่งคือ มิยาโมโตะ มุซาชิ อีกหนึ่งคือ ซาซากิ โคจิโร่ เป็นการประลองที่ถือเป็นสุดยอด เป็นที่จดจำมิรู้ลืม โดยทั้งสองคนนี้ ถือได้ว่าเป็นทั้งมิตรและศัตรูของกันและกัน เสียดายจังที่หน้ากระดาษมีอยู่จำกัด เพราะมีเรื่องให้สาธยายเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้เยอะแยะไปหมด แต่ละมุมล้วนน่าสนใจทั้งนั้น เอาเป็นว่าใครที่ชอบเรื่องชีวิตแบบหนักๆ แต่สนุก อิงประวัติศาสตร์ แนวนี้ รับรองว่าไม่ผิดหวังครับ (แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๑ เม.ย. ๒๕๕๓ )

โดย แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๑ เม.ย. ๒๕๕๓ - 11 เม.ย 53

งานบีโอไอแฟร์เปิดตัวหุ่นยนต์อ่านภาษามือภาษาไทยตัวแรกของโลกวันนี้ 9 มกราคม 2555


บีโอไอแฟร์ เตรียมเปิดตัว “หุ่นยนต์ดินสอ รุ่นที่ ๒” หุ่นยนต์อัจฉริยะตัวแรกของไทย พร้อมชมนวัตกรรมการสื่อสารที่มาจากหุ่นยนต์ดินสอ “DinsowSpond” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อกับลูกค้าขององค์กรต่างๆได้ ดีเดย์วันนี้(๙ม.ค.)

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า บริษัท Computer Telephony Asia จำกัด ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยี Contact Center Solution จากฝีมือคนไทยและผู้ผลิตหุ่นยนต์เพื่อการพาณิชย์แห่งแรกของไทย จะเปิดตัว “หุ่นยนต์ดินสอ รุ่นที่ ๒” หุ่นยนต์บริการอัจฉริยะตัวแรกของไทยที่สร้างสรรค์จากฝีมือของวิศวกรไทย ๑๐๐% ที่มีความสามารถในการสื่อสารดูแล และเป็นเพื่อนเล่นกับผู้สูงอายุได้ ในงานบีโอไอแฟร์ ๒๐๑๑ ในวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๓:๓๐-๑๖:๐๐ น. ณ ห้อง Grand Diamond Hall ๙ เมืองทองธานี

นายเฉลิมพล ปุณโณทก กรรมการผู้จัดการ บริษัท Computer Telephony Asia จำกัด กล่าวว่า สำหรับหุ่นยนต์ดินสอ รุ่นที่ ๒ เป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมหุ่นยนต์ของบริษัทฯ ที่ได้รวบรวมนักศึกษาไทยที่ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับโลก เพื่อมารวมกันพัฒนาหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ของไทยเพื่อมุ่งสู่ตลาดโลก โดยปัจจุบันบริษัทได้สร้างสรรค์นวัตกรรมหุ่นยนต์ออกสู่ตลาด และสำเร็จไปแล้ว ๓ รุ่น ของ คือหุ่นยนต์บริการอาหารที่ MK Restaurant หุ่นยนต์พรีเซนเตอร์ ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด และ หุ่นยนต์ต้นแบบ ดินสอ รุ่นที่ ๑ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ประเภทฮิวแมนนอยด์ คือ มีลักษณะคล้ายมนุษย์ ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถอ่านภาษามือภาษาไทยตัวแรกของโลก โดยใช้เทคโนโลยีทางด้าน Computational Intelligence จดจำภาษามือภาษาไทยเป็นภาพเคลื่อนไหว ที่ใช้สื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยินโดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย

“ผมขอเชิญท่านผู้สนใจทุกท่านเพื่อเป็นเกียรติร่วมงานในครั้งนี้ เพราะนอกจากจะมีการเปิดตัวหุ่นยนต์ดินสอ รุ่นที่ ๒ ซึ่งเป็นฝีมือสร้างสรรค์จากคนไทยแล้ว ยังมีนวัตกรรมการสื่อสารที่มาจากหุ่นยนต์ดินสอ“DinsowSpond” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อกับลูกค้าขององค์กรต่างๆอีกด้วย ” นายเฉลิมพล กล่าว

สำหรับการจัดแสดงนิทรรศการในงาน บีโอไอแฟร์ ๒๐๑๑ รวมพลังน้ำใจ โลกสดใส ไทยยั่งยืน หรือ Going Green for the Future จะเป็นการรวบรวมเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตและนวัตกรรม ซึ่งประชาชนคนไทยจะได้ชมอย่างใกล้ชิดและได้เห็นก่อนคนอื่นๆ ทั่วโลก โดยงานบริเวณริมทะเลสาบ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๕ – ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. และอาคารชาเลนเจอร์ อาคาร ๙ (งานเทคโนมาร์ท-อินโนมาร์ท) จัดระหว่างวันที่ ๕-๑๓ ม.ค.นี้ (สยามรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ ม.ค.๒๕๕๕)

เชิญชม....ผลงานสาวหูหนวก รับรางวัลศิลปินดาวเด่นบัวหลวง


โครงการ “ศิลปินดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ปีที่ ๓ ซึ่งจัดโดย มูลนิธิ ธนาคารกรุงเทพ และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถนี้เป็นการประลองฝีมือด้านศิลปะของ ๔๖ ตัวแทนนิสิต นักศึกษาสาขาศิลปะจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งทุกคนต้องมาใช้ชีวิตอยู่รวมกัน และสร้างสรรค์การวาดภาพสดๆ ในรูปแบบเรียลิตี้โชว์ ที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นเวลา ๑๐ วัน

สามคนเก่งที่คว้ารางวัลสำคัญของโครงการนี้ คือ คนที่หนึ่ง “น้องเสริฐ” นายประเสริฐ ยอดแก้ว นักศึกษาชั้นปี ๕ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของผลงาน “มุมมองใน มุมเมือง” ที่คว้ารางวัลศิลปินดาวเด่นบัวหลวงยอดเยี่ยม คนที่สอง คือ สาวหูหนวก น้องไอซ์-น.ส.พัชรวรรณมาลัย นักศึกษาชั้นปี ๓ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ได้รับรางวัลศิลปินดาวเด่นบัวหลวง ความคิดสร้างสรรค์ กับผลงาน “การกระทำลิขิตกรรม” ส่วนคนสุดท้าย คือ น้องจุ๋ย-นายเบญจพล โอสถานุเคราะห์ นักศึกษาชั้นปี ๕ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลศิลปินดาวเด่นบัวหลวง ขวัญใจประชาชน จากผลงาน “รู้จักฐานะ และเจียมตัว” (อย่าลืมกำพืด)

น้องเสริฐ บอกว่า รู้สึกดีใจและภูมิใจมาก ที่ตั้งใจทำงานแล้ว มีคนเห็นผลงานของเราและชอบในสิ่งที่เราคิด เทคนิคการทำงานชิ้นนี้ ได้แรงบันดาลใจมาจาก ศิลปะไทยในวัดที่เขาเขียนบน ปูน เราแค่หยิบยกปูนนั้นมาอยู่บนเฟรม แล้วใช้ สีอะคริลิกมาทาบนปูน เป็น การประยุกต์ใช้ให้ร่วมสมัย มากขึ้น ในอนาคตตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากไปเรียนต่อต่างประเทศเกี่ยวกับศิลปะเพิ่มเติม เพื่อหามุมมองที่แตกต่างจากที่เคยศึกษามา ซึ่งศิลปะไม่ใช่การวาดรูปที่ฉาบฉวย ไม่ใช่การแสดง ออกของอารมณ์ที่พอรู้สึกอะไร ก็วาดออกมา มันต้องมีข้อมูลว่าเป็นมาอย่างไร มีพื้นฐานอย่างไร ต้องอ่านหนังสือ และผมไม่ค่อยอ่านหนังสือจึงขาดแคลนเรื่องนี้ บางทีอาจารย์ถามอะไรมาเราก็ตอบไม่ได้ จึงต้องเปลี่ยนตัวเองและขวนขวายในเรื่องนี้มากขึ้น

“น้องไอซ์” สาวน้อยคนเก่งที่เป็นผู้พิการทางหู บอกผ่านล่ามประจำมหาวิทยาลัย ว่า ตอน ที่รู้ว่าได้รับคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยให้เข้าร่วมโครงการนี้ ก็ไม่ได้คาดหวังอะไรเลย อยากมาสนุก ๆ กับเพื่อนมากกว่า พอได้รางวัลก็รู้สึกตกใจและดีใจมาก เป็นครั้งแรกที่เข้าประกวดและได้รางวัล ซึ่งคงเป็นเพราะแนวคิดของผลงานที่ไม่เหมือนใคร ส่วนตัวชอบงานศิลปะมาตั้งแต่เด็ก แล้วก็พยายามทำมาเรื่อย ๆ การเข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้ได้ประสบการณ์ดี ๆ และเพื่อนเพิ่มมากขึ้น

ด้าน “น้องจุ๋ย” กล่าวว่า ผลงานชิ้นนี้ได้จับประเด็นเรื่องวัตถุนิยมมาถ่ายทอดผ่านเทคนิคสื่อผสม ทั้งสีน้ำมัน สีอะคริลิก ปากกาเคมี ซึ่งเวทีนี้ถือได้ว่าช่วยจุดประกายทางความคิดได้เยอะ งานส่วนตัวที่ทำนี้คือสไตล์หรือแนวที่ชอบเลย

สำหรับผู้ที่สนใจชมผลงานของ ๓ ศิลปินดาวเด่นบัวหลวง สามารถเข้าชมได้ที่ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.นี้เท่านั้น. (เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๘ พ.ย.๒๕๕๓)

โดย เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๘ พ.ย.๒๕๕๓ - 28 พ.ย. 53

ลี ซองโปร หูหนวกชาวเกาหลีใต้รร่วมแข่งขันกอล์ฟเอเชี่ยนทัวร์

"โปรเก๋" ปิยะ สว่างอรุณพร โปรหนุ่มวัย ๒๗ ปี จากเมืองดอกบัวอุบลราชธานีเป็นม้ามืดขึ้นนำเดี่ยวในการแข่งขันกอล์ฟเอเชี่ยนทัวร์รายการสุดท้ายของปี ๒๕๕๓ แบล็คเมาท์เท่นมาสเตอร์สชิงรางวัล ๑๘ ล้านบาทหรือ๖๐๐,๐๐๐ดอลล่าร์อเมริกันเมื่อวันเสาร์ที่๑๘ ธ.ค.ที่สนามแบล็คเมาท์เท่นกอล์ฟคลับพาร์๗๒ ระยะ๗,๑๘๔หลาอ.หัวหินจ.ประจวบคีรีขันธ์ โปรเก๋ทำได้ ๔ อันเดอร์พาร์ในวันที่ ๑๘ ธ.ค.ทำให้สกอร์รวม ๓ วันเท่ากับ ๑๔ อันเดอร์พาร์ ๖๙-๖๕-๖๘-๒๐๒ ในขณะที่เท็ดซึจิ ฮิราซูกะโปรหนุ่มญี่ปุ่นไล่ตาม๑สโตรกทำได้๑๓อันเดอร์พาร์ ๖๕-๗๑-๖๗-๒๐๓

ทางด้านลี ซองโปร หูหนวกชาวเกาหลีใต้วัย ๓๐ ปี ตกลงมาที่ ๓ ร่วมเท่ากับโปรช้าง ธงชัย ใจดี โดยทำได้คนละ ๑๑ อันเดอร์พาร์โดยซองทำสกอร์พังในวันที่ ๑๘ ธ.ค.หวดเกิน ๓ โอเวอร์พาร์ ๖๖-๖๔-๗๕-๒๐๕ ส่วนธงชัยทำได้ ๖๘-๖๙-๖๘-๒๐๕ ซึ่งทำให้การแข่งขันในรอบสุดท้ายในวันที่ ๑๙ ธ.ค.น่าดูมากขึ้นเพราะกลุ่มที่นำ ๔ อันดับแรกทั้งโปรเก๋, ฮิราซูกะ,ซองและธงชัยต่างมีสกอร์ไม่ห่างกันมาก ผลงานของโปรไทยที่น่าสนใจมีดังนี้อุดร ดวงเดชา สกอร์ ๘ อันเดอร์พาร์ ๒๐๘ อันดับ ๖ ร่วม ถาวร วิรัตน์จันทร์,ชัพชัย นิราช,กิรเดช อภิบาลรัตน์ สกอร์รวม ๗ อันเดอร์พาร์ ๒๐๙ อันดับ ๙ ร่วม ชินรัตน์ ผดุงศิลป์กับประหยัดมากแสง สกอร์รวม ๖ อันเดอร์พาร์ ๒๑๐ อันดับ ๑๗ ร่วม เชาวลิต ผลาผล สกอร์รวม ๕ อันเดอร์พาร์ ๒๑๑ อันดับ ๒๔ ร่วม สัตยา ทรัพย์อัประไมย ภาณุวัฒน์ หมื่นเหล็ก พรหม มีสวัสดิ์ สกอร์รวม ๓ อันเดอร์พาร์ ๒๑๓ อันดับ ๓๓ ร่วมอรรถพล ประทุมมณี สกอร์เกิน ๑ โอเวอร์พาร์ (แนวหหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ ธ.ค.๒๕๕๓)

โดย แนวหหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ ธ.ค.๒๕๕๓ - 19 ธ.ค. 53

มอบความสุขพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนโชว์'กวนอิมพันมือ'จากปักกิ่งโดยคนหูหนวก


ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในวันที่ ๕ ธ.ค. ๒๕๕๔ และโอกาสความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบ ๓๖ ปี ในปีนี้ รวมทั้งเพื่อส่งมอบความสุขให้พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในเทศกาลตรุษจีน ปี ๒๕๕๔ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำสุดยอดการแสดงนาฏศิลป์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่หาชมได้ยากกับการแสดงสุดยอด “กวนอิมพันมือ” จากนครปักกิ่งมาแสดงให้ชมฟรีที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแสดงกวนอิมพันมือจากคณะเทียน หลง หยวน (กำเนิดมังกรฟ้า) เป็นคณะที่มีชื่อเสียงมากของกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคณะที่นานาประเทศยอมรับเรื่องของความสวยงามและอลังการ สำหรับความพิเศษของการแสดงชุดนี้อยู่ที่นักแสดงชุดนี้เป็นชาวจีนที่เป็นผู้พิการทางการได้ยิน แต่สามารถสร้างสรรค์การแสดงสุดอลังการได้อย่างสวยงามและเป็นที่น่าประทับใจแก่ผู้ชม และเป็นโชว์ที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความศรัทธาประกอบแสงสีเสียงที่ทำให้สวยงามสมจริง นัก แสดงทุกคนต้องใช้ความอดทนในการฝึกซ้อมอย่างหนัก กว่าจะออกมาเป็นการแสดงที่สุดยอดเช่นนี้ สามารถทำได้โดยอาศัยการจับแรงจังหวะของเสียงดนตรีในการรำ และใช้ลมหายใจของแต่ละคนในการส่งสัญญาณในการซ้อนตัวและเปลี่ยนจังหวะท่ารำ

การแสดงชุดดังกล่าว จะมีขึ้นในวันที่ ๓๑ ม.ค.นี้ เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป นอกจากนี้ในวันที่ ๓ ก.พ.เวลา ๑๖.๐๐ น. ยังมีการแสดงที่น่าสนใจ อาทิ การแสดงจากระบำ ๕๖ ชนเผ่า, การแสดงนาฏศิลป์คนพิการจีนชุด “ความฝันของฉัน” , การแสดงกายกรรมปักกิ่ง, การแสดงชุดพิเศษเปลี่ยนหน้ากาก, การ แสดงมายากล, งิ้ว, กังฟู และการแสดง ศิลปะ-นาฏศิลป์จีนหลายแขนงจากมณฑล ต่าง ๆ เป็นต้น โดยใช้นักแสดงรวมกว่า ๒๐๐ ชีวิตร่วมแสดงในครั้งนี้ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์(เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๓ ม.ค.๒๕๕๔)

โดย เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๓ ม.ค.๒๕๕๔ - 13 ม.ค. 54

สตรีข้ามเพศเปิดโครงการเฉาะฟรี.....คนหูหนวกร่วมโครงการฯ


เมื่อวันที่ ๒๔ ก.พ. สมาคมสตรีข้ามเพศแห่งประเทศไทย เปิดโครงการผ่าตัดแปลงเพศให้กับผู้ชายที่มีจิตใจเป็นหญิง ซึ่งเป็นโครงการแรกในโลก โดยหวังขยายผลส่งผู้ที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศแล้วเรียนศัลยกรรมในอนาคต

ยลลดา สวนยศ นายกสมาคมสตรีข้ามเพศฯ กล่าวว่า โครงการ Sister’s Hand เป็นโครงการที่เปิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือให้มีการแปลงเพศฟรี พี่ช่วยน้อง ครั้งที่ ๑ เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันปรีชา เอสเทติคส์ อินสติวท์ หรือ PAI มี นพ.ปรีชา เตียวตรานนท์ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดทั้งหมด

“การที่จะสามารถผ่าตัดแปลงพศได้นั้น จะมีการสอบสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา หาผู้ที่มีจิตใจเป็นผู้หญิงอยู่ในร่างกายผู้ชายอย่างแท้จริง เมื่อทำการสัมภาษณ์แล้วบางคนที่ไม่ผ่านอาจจะค้นพบทางเดินของตนเองที่ถูกต้อง เพราะการผ่าตัดแต่ละครั้งจะเปลี่ยนชีวิตของคนๆนั้นไปเลย หากไม่ชัดเจนจริงๆจะส่งผลกระทบไปต่อชีวิต” นายกสมาคมสตรีข้ามเพศกล่าวและว่า

โครงการ ๑ ที่ผ่านมา มีผู้ได้รับการเข้าผ่าตัดมาแล้ว ๕ คน ได้แก่ ๑.ป้าแสงระวี อายุ ๕๔ ปี ๒.น้องพิงก์ หูหนวกและเป็นใบ้ ๓.น้องดา เกิดมามี ๒ เพศ ๔.น้องอิงค์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ๕.น้องรถเมล์ และน้องชายอายุ ๑๔ ปี ทั้งนี้ การผ่าตัดได้รับความสนใจจากรายการคนค้นคน ซึ่งเข้าไปตามติดชีวิตแบบเรียลลิตี้ โดยจะมีการออกอากาศในวันที่ ๑ และ ๘ มี.ค.นี้ นอกจากนี้ โครงการ Sister’s Hand ครั้งที่ ๒ ที่จะเกิดขึ้นปีนี้ทางโรงพยาบาลยันฮีเป็นผู้สนับสนุนหลัก และได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศในช่องสารคดีดิสคัฟเวอรี่

“ปัจจุบันสมาคมสตรีข้ามเพศฯ ยังไม่มีเงินทุนและองค์กรใดสนับสนุนโครงการ Sister’s Hand แปลงเพศฟรี พี่ช่วยน้องอย่างเป็นทางการ แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่จำเป็นจะต้องทำต่อไป อยากฝากประชาสัมพันธ์ให้ภาครัฐหรือเอกชนหันมาเอื้อเฟื้อ เราไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะช่วยเหลือ และจะพยายามช่วยเหลือต่อไปเท่าที่จะสามารถทำได้ สิ่งที่อยากจะต่อยอดจากโครงการนี้เพื่อให้ยั่งยืนคือการตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษา เพราะทางสมาคมต้องการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนผู้หญิงข้ามเพศ โดยเฉพาะวิชาชีพแพทย์ศัลยกรรม เพื่อเป็นแพทย์ประจำโครงการ Sister’s Hand พี่ช่วยน้อง กลับมาผ่าตัดแปลงเพศให้กับผู้ที่ยากไร้ขาดโอกาสต่อไป” ยลลดา กล่าว(โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๔ ก.พ.๒๕๕๔)

โดย โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๔ ก.พ.๒๕๕๔ - 25 ก.พ. 54

ชีวิตไม่เคยพิการ 'ถึงผมเป็นใบ้ แต่ไม่ไร้ไอเดีย'


อีกหนึ่งตัวอย่างของชีวิตที่ไม่มีวันล้ม ซึ่งถ้าใครได้เห็นแล้วคงต้องอึ้งถึงความสามารถในตัวผู้ชายคนนี้ อรรถ -อรรถพล กรวิทยานนท์ หนุ่มพิการหูหนวกมาตั้งแต่กำเนิด เขาอาจเลือกเกิดไม่ได้ว่าอยากให้ร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ แต่เขาก็สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ มีความมุ่งมั่น และความฝันของตัวเอง ซึ่งคนบางคนที่สมบูรณ์แบบ ยังทำไม่ได้เสียด้วยซ้ำ

แม้ว่าจะมีอุปสรรคเรื่องอาการหูหนวกที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดก็ตาม แต่สำหรับ อรรถ ไม่เคยหยิบปมนี้มาเป็นข้อต่อรองให้ความคิดของเขารู้สึกท้อแท้ เขาเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองรักและฝันมาตลอด ก็คือ การเป็นนักออกแบบเสื้อผ้า และสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาออกแบบแฟชั่น

“ตั้งแต่เด็กผมก็รู้สึกชอบเรื่องเสื้อผ้า ชอบใช้ความคิดออกแบบเสื้อ คงเพราะครอบครัวทำธุรกิจด้านนี้ด้วย ก็เลยซึมซับ พอโตขึ้นก็เลยเลือกเรียนสาขานี้ จะได้มีพื้นฐานที่แน่นขึ้น จนเรียนจบก็เริ่มออกแบบเสื้อผ้าขายจริงๆจังมากขึ้น จนเมื่อ ๓ ปีที่แล้วก็ทำแบรนด์ตัวเองขึ้นมาใช้ชื่อว่า ‘ATTAE’ (เอตเต้) มาจากชื่อของผมเอง” แม้ว่าผลงานของเขา อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักในวงการแฟชั่นชั้นนำมากนัก แต่อรรถก็ไม่เคยคิดหยุดนิ่ง ๓ ปีที่แล้วเคยทำอะไรไปบ้าง ทุกวันนี้เขาก็พัฒนางานตัวเองให้ดีมากขึ้น และถูกใจคนใส่มากขึ้น

“เสื้อผ้าของผมจะเน้นออกแบบเพื่อผู้หญิงอายุตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไป เริ่มแรกที่ทำจะออกแบบเรียบๆ ไม่ค่อยมีรายละเอียดมาก ซึ่งก็ได้รับคำติชมจากลูกค้ามาเรื่อยๆ จนเราพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น เริ่มดึงงานปัก ถัก มาใช้กับเสื้อผ้า ซึ่งลูกค้าก็ชอบ เพราะมันเป็นงานที่ดูใส่ใจ มีรายละเอียด และมันก็สะท้อนถึงตัวผมได้ดี เพราะส่วนตัวเป็นคนชอบปักเย็บอยู่ด้วย คอลเลกชั่นส่วนใหญ่ หลังๆ มานี้จึงเห็นว่าจะมีงานปักให้เห็นอยู่ตลอด จะเล็กหรือใหญ่ก็ว่าไปตามการออกแบบมากกว่า”

อาการหูหนวกของอรรถ อาจไม่มีผลต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องออกแบบเสื้อผ้า แต่สำหรับเรื่องการติดต่อสื่อสารนั้นเป็นอุปสรรคสำคัญ เพราะอรรถไม่ได้ทำแค่หน้าที่ดีไซเนอร์ของแบรนด์ ATTAE อย่างเดียว แต่เขายังเป็นคนติดต่อประสานงานกับลูกค้า ดูแลลูกน้อง รวมไปถึงต้องช่วยงานกิจการของครอบครัวด้วย

“หลักๆ ที่ผมทำงานทุกวันนี้ก็เป็นเรื่องการคิดแบบใหม่ๆ ต้องเรียนรู้ ดูแฟชั่นเยอะมาก จะได้รู้ว่าเขาไปกันถึงไหนแล้ว แต่อีกอย่างที่ต้องทำด้วยก็เรื่องการดูแลลูกน้อง ที่เป็นช่างตัดเย็บ และที่คอยช่วยเราประสานงานกับลูกค้าซึ่งต้องคอยสอนเขาด้วยว่าต้องทำอย่างไรบ้าง นอกจากนั้นก็คงเป็นธุรกิจเสื้อผ้าของที่บ้านครับ ยังไงก็ต้องช่วยดูแล เพราะเป็นของครอบครัว ตอนนี้ก็เลยไปๆ มาๆ สลับกันตลอด (ยิ้ม)”

ชีวิตดีไซเนอร์ของอรรถ อาจมีข้อจำกัดในเรื่องการสื่อสารอยู่บ้าง แต่เขาก็ไม่เคยมองว่าเป็นเรื่องที่แย่ที่สุดในชีวิต ซ้ำยังหันมาทุ่มเทเพิ่มขึ้น และมองเรื่องต่างๆในทางที่ดีไว้ก่อน

“ปัญหาที่เคยเจอมาหนักสุด คงเรื่องเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อปีที่แล้ว เพราะตอนนั้นร้านผมเปิดที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ พอมีเรื่องก็ต้องปิด แต่ตอนนี้โชคดีได้ย้ายมาเปิดที่พาราไดซ์ พาร์คแล้ว ส่วนเรื่องอื่น ตอนนี้ผมคิดว่าก็จะทำให้ดีที่สุดก่อน พยายามเรียนรู้ให้มากๆ เพราะการเป็นดีไซเนอร์ที่ดีไม่ใช่เก่งแต่เรื่องการออกแบบเท่านั้น แต่เรื่องการวางแผนการตลาด มันก็เป็นสิ่งที่จำเป็นด้วย เพราะถ้าเราไม่รู้อะไรเลย เราก็จะสอนลูกน้องก็ไม่ได้ ผมยังคิดว่าปัญหา หรืออุปสรรคยังไงมันก็ต้องเจอครับ แต่เราต้องเข้าใจ และเต็มที่กับสิ่งที่ทำไว้ก่อนดีกว่า ไม่งั้นก็เสียเวลาเปล่าๆ ถ้ามานั่งคิดท้อแท้กับมัน”. ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ พ.ค.๒๕๕๔)

โดย ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ พ.ค.๒๕๕๔ - 19 พ.ค. 54

ไม่มีภาษามือ

ภาษามือ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนหูหนวก ซึ่งตามกฎหมายสำหรับคนพิการของสหรัฐ ได้กำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ต้องให้การอำนวยความสะดวกคนพิการทุกอย่าง

แต่สำหรับ นายทอม วิลลาร์ด ชายวัย ๕๓ ปี จากเมืองโรเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา เขาเป็นคนหูหนวก ที่คิดว่าตัวเองไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกระหว่างการเข้าร่วมงานเทศกาล “คนเปลื้องผ้า” ซึ่งจัดซื้อที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ถึงกับต้องยื่นเรื่องร้องเรียนต่อศาลว่า สมาคมคนเปลื้องผ้า ซึ่งเป็นผู้จัดงาน “เอ็มไพร์ เฮฟเว่น นูดิสต์ พาร์ค” ไม่ยอมจัดหาล่ามภาษามือไว้สำหรับคนหูหนวก วิลลาร์ดบอกว่า ที่มายื่นเรื่องร้องเรียน เป็นเพราะอยากจะให้ทุกคนตระหนักถึงกฎหมายสำหรับคนพิการ ที่มีไว้ปฏิบัติ แต่กลับไม่ค่อยมีหน่วยงานไหนสนใจ

ก่อนหน้านี้ วิลลาร์ดเคยยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคลับแสดงตลกแห่งหนึ่งว่าไม่จัดหาล่ามภามือไว้ให้คนหูหนวกเช่นกันและยังมีอีกหลายต่อหลายครั้งที่คนหูหนวกอย่างเขาไม่ได้รับการอำนวยความสะดวก เขารู้สึกเกลียดประสบการณ์อย่างนี้อย่างมาก เหตุผลหนึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องของค่าจ้างล่ามที่แพงก็เลยไม่ค่อยมีใครอยากจ้าง เลือกที่จะบอกว่า “ไม่มี” ดีกว่า นายวิลลาร์ดเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทำให้โลกได้เห็นว่าแม้จะพิการร่างกาย แต่ก็ยังมีอารมณ์หาความบันเทิงใส่ตัวตลอด จริงๆนะ(มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๑ ส.ค.๒๕๕๔)

โดย มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๑ ส.ค.๒๕๕๔ - 12 ส.ค. 54

เสียงหัวเราะในโลกเงียบ น.ร.เศรษฐเสถียร...เที่ยวสวนสนุก


แม้จะ “บกพร่องทางการได้ยิน”ก็ใช่ว่าเด็กๆ ๕๐ ชีวิต จากโรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ โรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งแรกของประเทศไทย จะหัวเราะไม่ได้ แม้จะเป็น “เสียงหัวเราะในโลกเงียบ” แต่รอยยิ้มที่แสดงออกมาทางใบหน้า ก็ทำให้สัมผัสได้ว่าพวกเขามีความสุขเหลือเกิน เมื่อผู้ใหญ่ใจดีจาก “มาเธอร์แคร์ (ประเทศไทย)” ภายใต้การบริหารของ ลดาริน นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ทรี แอล เอ็น จำกัด ร่วมฉลองในวาระครอบรอบ ๕๐ ปี มาเธอร์แคร์ พาพวกเขาไปเที่ยวสวนสนุกที่ “ฟันเนเรี่ยม” สุขุมวิท ๒๖ สนามเด็กเล่นในร่มที่ใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง

เด็กๆ ชอบเครื่องเล่นหลายอย่าง ทั้งโซนลูกบอลที่ถูกดูดไว้ในปล่อง, ล่านขี่จักรยาน, แทรมโปลีน แต่ดูเหมือนว่า สไลเดอร์จะเป็นของเล่นยอดฮิตของเด็กๆ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ต่างแข่งกันปีนป่ายบันไดขึ้นไปบนสไลเดอร์ แล้วแข่งกันสไลด์ตัวลงมา พร้อมๆกับส่งเสียงหัวเราะอย่างสนุกสนาน

“ครูตุ๊ก” วชิราภรณ์ เศรษฐผล ครูชำนาญการพิเศษ ที่นอกจากทำหน้าที่คอยมองและใช้ภาษามือเตือนศิษย์ตัวน้อยที่เล่นอยู่ ให้มีความระมัดระวังแล้ว ยังต้องดูแลลูกศิษย์ข้างกายที่มีปัญหาด้านสมอง และสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงด้วยความเอาใจใส่ด้วย

ครูตุ๊กบอกว่า เด็กที่มาในวันนี้มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึง ป.๓ ก่อนที่จะพามา คุณครูต้องแนะนำการเล่นเครื่องเล่นต่างๆ เบื้องต้นก่อน โดยนำภาพเครื่องเล่นต่างๆ ของฟันเนเรี่ยมมาให้ดูว่ามีลักษณะแบบไหนบ้าง จะย้ำให้เล่นเบาๆ และระวังตัว เพราะเขาจะชนมากตามวัยและตามลักษณะความพิการของเขาที่ไม่ได้ยินเสียง

“เด็กๆ ชอบเครื่องเล่นทุกอย่าง เวลาเรียนไม่มีเสียงแต่เวลาเล่นนี่เสียงดังเลย เครื่องเล่นที่นี้ช่วยเสริมทักษะและพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้มาก ทั้งการได้แสดงอารมณ์ การผ่อนคลาย ได้ยิ้ม ได้สนุก รวมทั้งได้บริหารกล้ามเนื้อทั้งมัดเล็ก มัดใหญ่ เรียกว่าช่วยพัฒนาได้ทั้งหมดเลย อย่างเด็กคนหนึ่งเขามีปัญหาทางด้านสมอง หู และแขนขาไม่ค่อยมีแรง เพิ่งจะเดินได้ แต่พอพามาเดินเล่นเครื่องเล่นบางอย่างที่นี่ ปรากฏว่าเขาชอบมากแต่เราต้องคอบประกบตลอด ให้เล่นได้เฉพาะบางอย่างเท่านั้น พอเหนื่อยก็นั่งพัก หายเหนื่อยก็ไปเล่นต่อ เด็กชอบและดูสดใสขึ้นมาก” คุณครูใจดีของเด็กๆ กล่าว

เมื่อถึงเวลาพักเหนื่อย เด็กๆ ก็เปลี่ยนมาทำกิจกรรมเบาๆ บ้าง คือ ระบายสีรูปภาพ และทำการ์ดตัดแปะ แบบ pop up โดยให้เลือกทำได้ตามใจชอบ ซึ่งแต่ละคนก็มีจินตนาการในการใช้สีสันที่แตกต่างกันไป และมีผลงานที่น่าภูมิใจติดมือกลับบ้านกันไปทุกคน จากนั้นไปอิ่มอร่อยกันต่อกับเมนูเด็ด ข้าวเหนียว หมูย่าง ที่เชฟของฟันเนเรี่ยมบรรจงทำสุดฝีมือ เพื่อเพิ่มพลังให้ก่อนไปชมการแสดงละคร เรื่อง “ชาวนากับแครอต” และสนุกกับเกมต่างๆ ทุกคนต่างพกรอยยิ้มกลับบ้านอย่างมีความสุข (มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ต.ค.๒๕๕๔)

โดย มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ต.ค.๒๕๕๔ - 11 ต.ค. 54

ทักทาย

สวัสดี ไม่ได้เจอตั้งนาน
หายเงียบไปนาน ถึง 2 ปีเชียว
กลับมาใหม่ ชื่อยังคงเหมือนเดิม
HUNUAK เป็น Thai Deaf News
อยากจะบอกว่า ภูมิใจเสนอจริงๆ