05 พฤศจิกายน 2552

การสอนแบบสองภาษา สำหรับเด็กหูหนวก



ทำไมจึงต้องสอนแบบสองภาษา
การสอนแบบสองภาษาเป็นปรัชญาที่เริ่มปรากฏขึ้นในปี พ.ศ. 2523 ที่ประเทศ
สวีเดนและอเมริกา เนื่องจากไม่สมหวังกับผลที่ได้จากวิธีการสอนแบบระบบรวม วิธีสอน
แบบนี้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการทางภาษา จิตวิทยาการเรียนรู้
ู้ และภาษาศาสตร์ ภาษามือ การวิจัยเหล่านั้นรายงานว่าเด็กหูหนวกที่มีพ่อแม่เป็นคนหูหนวก
และได้ใช้ภาษามืออเมริกันตั้งแต่เป็นเด็ก จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอ่านออกเขียนได้
การพัฒนาทางอารมณ์ และสังคมดีกว่าเด็กหูหนวกจากครอบครัวที่พ่อแม่เป็นผู้มีการได้ยิน
ทั้งนี้ เพราะเด็กอยู่ในสถานการณ์ที่ใช้สองภาษาตลอดเวลา
ปรัชญาการสอนแบบสองภาษาเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการเข้าใจว่า เด็กหูหนวก
เรียนรู้ได้ดีจากช่องทางที่ไม่ผิดปกติคือ ทางตามากกว่าช่องทางที่ผิดปกติคือ การได้ยินทางหู
และภาษาที่ใช้ในการรับรู้ด้วยตาได้ดีที่สุดคือ ภาษามือของคนหูหนวก การเรียนภาษามือ
ของคนหูหนวกจะทำให้สมองมีการพัฒนาได้ดี และมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกับการเรียนภาษา
ที่สองทำให้สามารถเรียนรู้ความแตกต่างของภาษามือ และภาษาเขียนได้เป็นอย่างดี

ใช้ภาษามือไทยอย่างไร
• ภาษามือไทย ในฐานะเป็นวิชา วิชาหนึ่ง
• ภาษามือไทย เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ภาษาไทย
• ภาษามือไทย เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนวิชาอื่น

การสอนแบบสองภาษาสำหรับคนหูหนวก คืออะไร
• การสอนภาษามือไทย เป็นภาษาแรก เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ภาษามือ
ในการคิด การแสดงความรู้สึก การพูดคุย และการเรียนรู้โลก ทำให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคง
ปลอดภัยไม่ถูกทอดทิ้ง และเป็นอิสระ
• การสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง เพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้และ/หรือ
พูดได้ เพื่อใช้ในการติดต่อกับคนทั่วไป และการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากการอ่าน
• การเรียนการสอนแบบสองภาษา จะทำให้คนหูหนวกมีการปรับตัวได้ดีมี
ความสามารถในการใช้ภาษามือไทย และภาษาไทยได้ดี ทั้งการอ่าน การเขียนและ/หรือการพูด
ซึ่งจะเป็นผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การสอนแบบสองภาษา ทำอย่างไร
การสอนแบบสองภาษามีหลายรูปแบบ สิ่งสำคัญของการสอนแบบนี้ คือ
• สอนภาษามือไทยเป็นภาษาแรก จนเด็กสามารถใช้ภาษามือไทยได้เป็น
อย่างดี
• สอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ในรูปของภาษาเขียน
• สอนโดยครูสองคน คือครูหูหนวกและครูที่มี่การได้ยิน(ครูทั้งสองคนต้องรู้
ภาษามือ และภาษามือไทย)
• ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาในการเรียนการสอน
• สอนภาษามือไทย แยกจากภาษาไทย

ทำไมจึงต้องใช้ภาษามือไทย
ภาษามือไทย : • เป็นภาษาธรรมชาติของคนหูหนวก มีฐานะเป็นภาษาภาษาหนึ่งตามหลัก
ของภาษาศาสตร์ เช่นเดียวกับภาษาทั่วไปในโลก
• มีโครงสร้าง และไวยากรณ์เป็นของตัวเอง ซึ่งไม่เหมือนกับโครงสร้าง
และไวยากรณ์ของภาษาไทย
• เป็นภาษาแรกของคนหูหนวกไทย
• เป็นภาษาที่คนหูหนวกไทยใช้ในการคิด การแสดงความรู้สึก การพูดคุย
และการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านล่ามภาษามือ

ทำไมจึงต้องใช้ครูสองคน
• ครูหูหนวกเป็นต้นแบบของการใช้ภาษามือไทยและเป็นผู้ถ่ายทอด
วัฒนธรรมของคนหูหนวก
• ครูที่มีการได้ยิน เป็นต้นแบบของการใช้ภาษาไทยเป็นผู้ถ่ายทอด และ
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมของคนหูหนวก

วัฒนธรรมของคนหูหนวก คืออะไร
• วิถีชีวิตของคนหูหนวก
• การมองโลกของคนหูหนวก ผ่านการรับรู้ด้วยตาและภาษามือ
• การพูดคุยด้วยภาษามือ การตั้งชื่อภาษามือ การเรียกผู้อื่นด้วยการสัมผัสแตะ
ต้องตัว เป็นต้น

ทำไมคนหูหนวกจึงมีวัฒนธรรมแตกต่างจากคนทั่วไป
คนหูหนวกถ่ายทอดวัฒนธรรมกันอย่างไร
• คนหูหนวกส่วนใหญ่เกิดในครอบครัวที่มีพ่อแม่มีการได้ยินและใช้ภาษาพูด
• คนหูหนวกใช้ภาษามือ เข้าใจภาษาพูดได้น้อย จึงไม่สามารถพูดคุยกับพ่อแม่
ได้มากเท่าที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดช่องว่าระหว่างคนหูหนวกกับครอบครัว ความรู้สึก
ถูกทอดทิ้ง โดเดี่ยว ไม่มีเพื่อน และไม่มีคนเข้าใจผลักดันให้คนหูหนวกเข้ารวมกลุ่มกับ
คนหูหนวกด้วยกัน
• การวมตัวของคนหูหนวก เป็นบ่อเกิดของชุมชน และวัฒนธรรม คนหูหนวก
ที่ถ่ายทอดส่งต่อจากผู้ใหญ่หูหนวกผ่านการเล่าเรื่องด้วยภาษามือไปสู่เด็กหูหนวก

การจัดชั้นเรียน
วัฒนธรรมของคนหูหนวกมีความสำคัญต่อการจัด การศึกษาของคนหูหนวก อย่างไร
การจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคน
หูหนวก จะทำให้คนหูหนวกสามารถเรียนรู้ได้เช่นเดี่ยวกับคนทั่วไป เช่น
• การใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาในการเรียนการสอน
• การใช้เทคนิควิธีสอนและสื่อที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
หูหนวก
• การให้เด็กหูหนวกได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนเด็กหูหนวกและคนหูหนวก
ผู้ใหญ่เพื่อเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของคนหูหนวก
• การสอนภาษามือไทยโดยครูหูหนวก ที่ได้รับการฝึกอบรมวิธีสอนภาษามือ
• การสอนโดยครูหูหนวก และครูที่มีการได้ยินที่ใช้ภาษามือไทยได้ดี
• การจัดชั้นเรียนที่แตกต่างกับชั้นเรียนทั่วไป เพื่อให้เด็กได้มองเห็นการใช้
ภาษามือของเพื่อนได้ชัดเจน

การจัดชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนสำหรับเด็กหูหนวก คือ การจัดให้เด็กนั่งเรียนในที่ที่จะทำให้
เด็กสามารถมองเห็นกันทุกคน โดยจัดให้อยู่ในรูปตัวยู ครูอยู่ด้านหน้าชั้นเรียน (ดังแผนผัง)
โดยที่เด็กสามารถมองเห็นกระดาน มองเห็นครู และมองเห็นเพื่อนทุกคน เพราะเด็กหูหนวก
ต้องใช้ภาษามือในการสื่อสาร จึงจำเป็นต้องมองเห็นหน้ากันทุกคน ตัวอย่างเช่น หมายเลข 1
สามารถมองเห็นครู ซึ่งยืนอยู่หน้าชั้นเรียน และมองเห็นเพื่อน ๆ หมายเลข 2-6 ทุกคน สามารถ
สื่อสารกันได้กับทุกคนและครูสามารถเห็นหน้าเด็กทุกคน และสื่อสารกับเด็กได้ทุกคน
ดังนั้นในการจัดห้องเรียนควรจัดให้เด็กนั่งเป็นรูปตัวยู และควรมีแสงสว่างที่
เพียงพอที่จะสามารถมองเห็นการทำภาษามือ ทำให้ครูและนักเรียนสามารถสื่อสารด้วยภาษามือ
กันได้เป็นอย่างดี



เอกสารอ้างอิง
ดร.จิตประภา ศรีอ่อน วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

ไม่มีความคิดเห็น: