07 ตุลาคม 2552

คอนสแตนดิน ไชออลคอฟสกี้ ผู้ประดิษฐ์ยานอวกาคนหูหนวก


เส้นทางไปยังดวงดาวจัดสร้างขึ้นมาตามทฤษฎีของคอนสแตนดิน ไชออลคอฟสกี้ นักวิทย่าศาสตร์คนสำคุญของโลกชาวรัสเซีย นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้มีทฤษฎีอยู่ว่าในการเดินทางออกจากโลกไปยังโลกอื่นมนุษย์จำเป็นต้องสร้างสถานีอวกาศให้สำเร็จ เพื่อใช้เป็น "บันได" สำหรับการก้าวออกไปจากโลก คอนสแตนดิน ไชออลคอฟสกี้ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1857 ในหมู่บ้านอีเซฟสโกยี ต่อมาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่เมืองวยาตก้า ที่เมืองนี้เด็กชายไชออลคอฟสกี้ชอบแม่น้ำยาตก้าเป็นพิเศษ เขาชอบลงไปว่ายน้ำบนแม่น้ำสายนี้อย่างสนุกสนาน ในฤดูใบไม้ผลิแผ่นน้ำแข็งบนแม่น้ำแตกตัว เด็กชายไชออลคอฟสกี้มีความกล้าหาญมาก เขากระโดดจากแผ่นน้ำแข็งแผ่นหนึ่ง ไปยังอีกแผ่นหนึ่งด้วยวิธีนี้ เขาสามารถข้ามแม่น้ำสายนั้นไปยังอีกฟากหนึ่ง โดยไม่ต้องว่ายน้ำข้ามไป

แต่มีความหายนะใหญ่หลวงกำลังรอคอยอยู่ ในฤดูหนาวหลังจากเล่นสเกตน้ำแข็ง ไชออลคอฟสกี้ ล้มป่วย เป็นหวัดก่อนแล้วเป็นไข้อีดำอีแดง การล้มเจ็บขยายตัวลุกลามจนในที่สุดเขากลายเป็นคนหูหนวก สำหรับไชออลคอฟสกี้การกลายเป็นคนหูหนวก โลกภายนอกทั้งหมดถูกจมอยู่ในความเงียบ เขาไม่สามารถได้ยินเสียงเพลงของนกหรือเสียงของลมพัด เขาไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย ไชออลคอฟสกี้เขียนถึงโลกของเขาไว้ว่า :-
ในกลุ่มเด็กวัยเดียวกันและในกลุ่มคนโดยทั่วไป ผมมักงุ่มง่ามเสมอเป็นธรรมดาอยู่เอง การเป็นคนหูหนวก ทำให้ผมเป็นตัวตลกน่าขบขัน มันทำให้ผมต้องเหนิห่างจากผู้อื่น และผลักดันผมออกจากความน่าเบื่อหน่ายด้วยการอ่านหนังสือ ด้วยการใช้ความคิดอย่างแน่วแน่และฝันกลางวัน เนื่องจากผมเป็นคนหูหนวก ทุก ๆ นาทีของมีชีวิตที่ผมใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นเป็นเรื่องทรมาน ผมมีความรู้สึกว่า ผมถูกแยกออกไปอยู่โดดเดี่ยว น่าอาย เป็นคนที่ไม่มีใครต้องการคบหา ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้ผมต้องถอยลึกลงไปในตัวผม เพื่อค้นหาจุดหมายยิ่งใหญ่ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น ๆ และเพื่อไม่ให้ต้องถูกเหยียดหยามดูหมิ่น
มารดาาของไชคอฟสกี้ สอนการอ่านและการเขียนหนังสือก่อนนำไปเข้าโรงเรียนในเมือง เขาเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสามปี การเรียนหนังสือที่โรงเรียนสำหรับเด็กหูหนวกเช่น ไชออลคอฟสกี้กลายเป็นเรื่องยากลำบาก แต่มาริยามารดาของเขาคอยปลอบใจ และพร่ำสอนให้เขามีความเข้มแข็ง รักชีวิตและมีความเชื่อมั่นว่า เขาจะหายจากการเป็นโรคหูหนวก
แต่เด็กชายคอนสแตนติน ไชออลคอฟสกี้ มีเคราะห์กรรมหนักยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเขามีอายุได้ 13 ปี มารดาของเขาเสียชีวิต หลังจากนั้นไม่นาน เขาต้องออกจากโรงเรียน ถนนไปยังอนาคตของเขาดูเหมือนว่า หายไปทันที
เมื่อไม่สามารถเรียนหนังสือที่โรงเรียน เด็กหนุ่มไชออลคอฟสกี้นึกถึงคำแนะนำของคุณแม่ เขาเริ่มต้นศึกษาจากตำราเรียนของพี่ชาย และอ่านหนังสือในห้องสมุดของบิดา เมื่ออายุ 14 ปี เขาสนใจวิชาวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง จากการอ่านตำราวิชาฟิสิกส์ เขามีแนวคิดเรื่องการสร้างรถขับดันด้วยไอน้ำ แนวคิดเรื่องนี้คือหลักการเรื่อง การเคลื่อนที่เชิงปฏิกิริยาของไชออลคอฟสกี้ในเวลาต่อมา
เมื่ออายุได้ 16 ปี คอนสแตนติน ไชออลคอฟสกี้ ตัดสินใจเดินทางไปยังกรุงมอสโก ทั้งนี้เพราะต้องการให้การศึกษาด้วยตัวเองมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีกที่กรุงมอสโก เขาไม่รู้จักใครเลย แต่เด็กหนุ่มหูหนวกแต่งตัวมอซอจากาชนบท ย่ำไปบนถนนของเมืองหลวง เขาประทับใจภาพของเมืองใหญ่แต่สับสนจณะเดินไปตามถนน สายตาของเจาคอยมองหาตัวหนังสือห้องให้เข่า ในที่สุดเขาเช่ามุมหนึ่งของห้องจากหญิงรับจ้างซักผ้าด้วยเงินเพียงไม่กี่โกเปค
ทุกเช้าก่อนประตูห้องสมุดประชาชนในกรุงมอสโกลเปิด เด็กหนุ่มบ้านนอกจะรออยู่ตรงหน้าประตู เพื่อเข้าไปอ่านหนังสือที่เขาต้องการค้นคว้า เมื่อได้หนังสือที่เขาต้องการเขาจะไปนั่งตรงมุมหนึ่งของห้อง แล้วเริ่มต้นอ่าน เมื่อเวลาของกลางวันผ่านพ้นไป และยามกลางคืนกำลังใกล้เข้ามา ไชออลคอฟสกี้ จึงออกจากห้องสมุด เรื่องที่ฝังอยู่ในความคิดของเขา คือ เรื่องการเดินทางเลยออกไปจากบรรยากาศของโลก
ไชออลคอฟสกี้ ใฝ่ฝันเรื่องการเดินทางออกจากโลกเรื่อยไป ปีที่สองของการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงมอสโก โดยไม่ได้ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน และโดยที่ไม่มีครูสอน ปรากฏว่าไชออล คอฟสกี้ มีความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ชั้นสูง และคณิตศาสตร์ชั้นสูง จากากาเรียนด้วยตนเองอยู่ภายในห้องสมุดประชาชน
แต่ไชออล คอฟสกี้ มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความหิวโหย เพราะความยากจนเสื้อผ้าที่เขาสวมเหมือนผ้าขี้ริ้ว ถึงจะมีสภาพเช่นนี้ไชออล คอฟสกี้ เชื่อมั่นในอนาคตความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เขาเรียนรู้มา กลายเป็นพลังแข็งแกร่งอยู่ในตัวของเด็กหนุ่มหูหนวกยากจนจากชนบท
ท่ามกลางความยากจน ไชออล คอฟสกี้ แต่งงานกับวาร์จารา โซโกโลวา ภรรยาของไชออล คอฟสกี้ ทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้สามีมีเวลาวิจัยงานด้านวิทยาศาสตร์และมีเวลาเขียนบทความ โซโกโลวาเป็นเพื่อนที่ดี เป็นภรรยที่เสียสละ และเชื่อในความอัจฉริยะของสามี งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ไชออล คอฟสกี้ เสนอไว้ในบทความของเขา มีนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของรัสเซียหลายคน เช่น เมนเดเลเยฟ, ชูคอฟสกี้, สโตเลตอฟ และคนอื่น ๆ ให้ความสนใจ แต่ไม่มีใครสามารถช่วยไชออลคอฟสกี้พ้นจากความจน เพื่อความอยู่รอดของชีวิตและครอบครัว ไชออล คอฟสกี้นักวิทยาศาสตร์หนุ่มหูหนวกจึงตัดสินใจไปสอนหนังสือในโรงเรียนของหมู่บ้านกาลูก้า เมื่อมีอาชีพเป็นครู เวลาของการค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงมีเฉพาะเวลาว่างเท่านั้น
ฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1892 ไชออลคอฟสกี้ และครอบครัวย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านกาลูก้า และอยู่ที่นั่นตลอดชีวิต เขานำชื่อเสียงมาสู่หมู่บ้านกาลูก้า แต่เป็นเวลายาวนานที่ชีวิตของเจาและครอบครัวของเขาที่นั่น ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพเป็นครู แต่กํยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความยากจน อย่างไรก็ดี ไชออลคอฟสกี้ไม่เคยท้อถอย เขาทำงานหนักต่อไป
ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1893 ขณะปิดภาคเรียนไชออลคอฟสกี้เขียนหนังสือเล่มแรกชื่อ อวกาศเสรี (Free Space) ในหนังสือเล่มนี้ ไชออลคอฟสกี้อธิบายเรื่องการเดินทางอวกาศถูกต้องตามหลักการของวิทยาศาสตร์ จนผู้อ่านมีความเชื่อว่า ผู้เขียนหนังสือเคยเดินทางอวกาศมาแล้วด้วยตัวเอง ตอนหนึ่งในหนังสือเล่มนั้นเขาเขียนไว้ว่า :-
เป็นเรื่องน่าตกใจในห้วง (อวกาศ) ไม่มีเขตแดนและปราศจากสิ่งที่เคยคุ้นเคย ไม่มีพื้นดินอยู่ใต้เท้าของผู้ใด ไม่มีท้องฟ้าในระยะไกล มันเป็นโลกไม่มีจุดอ้างอิง ไม่มีแนวระดับ ไม่มีแนวยืน ไม่มีความรู้สึกเรื่องน้ำหนัก ไชออลคอฟสกี้ มีความเห็นต่อไปว่า "มนุษย์จะไม่อยุ่บนโลกนี้ตลอดกาล ในการแสวงหาแสงสว่างและอวกาศจองเจา ก่อนอื่นเขาจะก้าวเลยออกไปจากบรรยากาศ (ของโลก) หลังจากนั้นจะพิชิตอวกาศรอบ ๆ (ระบบสุริยะ)"
ในหนังสือเล่มนี้คอนสแตนติน ไชออลคอฟสกี้ ออกแบบยานอวกาศขุยดันด้วยจรวด ให้มนุษย์ใช้เป็นยานเดินทางไปในอวกาศ
ในปี ค.ศ. 1895 นักวิทยาศาสตร์หนุ่มหูหนวก เขียนหนังสือ ชื่อ ความฝันของโลกและท้องฟ้า ในหนังสือเล่มนี้ แนวคิดเรื่องความเป็นไปได้ในเรื่องการเดินทางอวกาศจองมนุษย์ และเรื่องสภาพของอวกาศ มีรายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มก่อน ๆ ของเขา ในหนังสือเล่มนี้ ไชออลคอฟสกี้ เสอนเรื่งอการสร้างดาวเทียมเป็นครั้งแรก เขาเขียนไว้ว่า :-
บริวารของโลก (ที่จะสร้างขึ้น) เหมือนดวงจันทร์ แต่อยู่ใกล้โลกของเรา สามารถบินเลยเขตแดนของบรรยากาศของโลก ห่างจากพื้นโลกประมาณ 200 ไมล์ เนื่องจากมีมวลน้อยมาก ดาวเทียมจะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของสภาพแวดล้อมที่ปราศจากแรงดึงดูด
ปี ค.ศ. 1903 เป็นปีประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เฉพาะสำหรับตัวไชออลคอฟสกี้ เองเท่านั้น แต่สำหรับโลกวิทยาศาสตร์ด้วย ปีนั้น ไชออลคอฟสกี้จัดพิมพ์บทความมีชื่อเสียงเรื่อง การสำรวจอวกาศด้วยสิ่งประดิษฐ์เชิงปฏิกิริยา ผลงานชิ้นนี้ ไชออลคอฟสกี้วางพื้นฐานการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับการเดินทางอวกาศ โดยเสนอสูตรมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก คือ สูตรการเคลื่อนที่ของจรวดต่อมาสูตรนี้เรียกกันว่า สูตรไชออลคอฟสกี้ เป็นสูตรชี้ให้เห็นข้อดีของจรวด ไชออลคอฟสกี้ ใช้สูตรของตนเองออกแบบจรวดสำหรับนำยานเดินทางอวกาศ สูตรไชออลคอฟสกี้ กลายเป็นหลักการของการพัฒนาจรวดสำหรับยานเดินทางออกนอกโลก
ระหว่างสงครามโลกครั้งแรก ภายหลังการปฏิวัติของพวกบอลเซวิก รัฐบาลโซเวียตให้การสนับสนุนงานด้านวิทยาศาสตร์ของไชออลคอฟสกี้ ในทุกแนวทาง ปีค.ศ. 1918 ไชออลคอฟสกี้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของบัณฑิตสภาพโซเซียลิสต์ ปี ค.ศ. 1919 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเกียรติยศของสภามิตรภาพวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ปี ค.ศ. 1921 รัฐบาลในรางวัลด้วยการให้เงินบำนาญตลอดชีวิต ปีค.ศ. 1924 ได้รับคัดเลือกเป็นศาสตราจารย์เกียรติยศจองวิทยลัยกองทัพอากาศชูคอฟสกี้
ไชออลคอฟสกี้ผู้วางหลักการเรื่องการเดินทางอวกาศ ยืนยันด้วยความมั่นใจตลอดเวลาว่า มนุษย์ไม่อยู่บนโลกนี้ตลอดกาล มนุษย์สามารถพิชิตอวกาศ ยานอวกาศขับดันด้วยจรวดจะเดินทางไปในจักรวาล นำมนุษย์ไปยังดาวเคราะห์ ซึ่งมีอยู่มากมายในเอกภพ มนุษย์จะสามารถสร้างดาวเทียม และไม่ใช่เป็นเพียงดาวเทียมเท่านั้น แต่จะเป็น "เกาะบนฟากฟ้า" หรือเป็น สถานีอวกาศ โคจรอยู่รอบโลก เพื่อเป็นที่พักพิงสำหรับการเดินทางไปในจักรวาล
ไชออลคอฟสกี้เชื่อว่า มีแหล่งอารยธรรมมากมายในจักรวาล ความเชื่อในเรื่องนี้เขาเขียนไว้ว่า :
"แกแลกซี่ มีดวงอาทิตย์นับพันล้านดวงแต่ละดวงมีดาวเคราะห์มากมาย และอย่างน้อยที่สุดต้องมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งของดวงอาทิตย์ (นับพันล้านดวงในแกแลกซี่หนึ่ง) มีสภาพเหมาะสมเอื้ออำนวย (สำหรับชีวิต)"
ในช่วงท้ายของชีวิตไชออลคอฟสกี้เร่งรีบจัดทำโครงการเพื่อจักรวาลตามแผนการนี้เขาเขียนคำนวณ และจดทำแผนการเดินทางไปยังอวกาศของมนุษย์ขณะที่เขียนโครงการนี้ ไชออลคอฟสกี้รู้ดีว่าตนเองคงไม่ได้เห็นการเดินทางของยานอวกาศในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1935 สุขภาพของเขาทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ แต่ถึงกระนั้นก็ดี ขณะนอนป่วยอยู่บนเตียงคนไข้ เขาบอกให้คนเขียนจดหมายตามคำพูดของตนส่งไปถึงรัฐบาลของวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1935 คอนสแตนติน ไชออลคอฟสกี้ ถึงแก่กรรม บ้านของเขาที่กาลูก้ากลายเป็นพิพิธภัณฑ์สถาน เป็นอนุสรณ์ให้กับผู้บุกเบิกการเดินทางอวกาศคนแรกของประเทศชาติ

ไม่มีความคิดเห็น: